ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนระดับปริญญาโท กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • นฤดล คงทน

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2017.13

คำสำคัญ:

ความคาดหวังและความพึงพอใจ, รูปแบบการเรียนการสอน, มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนระดับปริญญาโท กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน (3) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาโท ชั้นปีที่ 2 กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 181 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย

          ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาพรวมผลการวิเคราะห์ระดับความคาดหวังของนักศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด  (4.30) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า หมวดวิชาทฤษฎีมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.34) รองลงมาคือ หมวดวิชาประยุกต์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.28) และหมวดวิชาวิจัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.30) ภาพรวมผลการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (3.99) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หมวดวิชาทฤษฎี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (4.02) รองลงมาคือ หมวดวิชาวิจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (3.98) และหมวดวิชาประยุกต์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (3.97) (2) ภาพรวมผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังและความพึงพอใจแตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หมวดวิชาทฤษฎีมีความคาดหวังและความพึงพอใจแตกต่างกัน (t = 4.49) หมวดวิชาประยุกต์ มีความคาดหวังและความพึงพอใจแตกต่างกัน (t = 4.39) และหมวดวิชาวิจัยมีความคาดหวังและความพึงพอใจแตกต่างกัน (t = 4.71) และ (3) รูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมในหมวดวิชาทฤษฎี ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนโดยการสร้างเรื่อง รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือและรูปแบบการสอนแบบซักค้าน รูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมในหมวดวิชาประยุกต์ ได้แก่รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ รูปแบบการเรียนการสอนโดยการสร้างเรื่อง และรูปแบบการเรียนการสอนโดยการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า รูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมในหมวดวิชาวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ รูปแบบการเรียนการสอนโดยการสร้างเรื่อง และรูปแบบการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์

References

1. กมลพร สอนศรี, นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ. (2558). การศึกษารูปแบบการเรียนการสอนในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน) พ.ศ. 2558.

2. กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2554. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.เม้นท์ จำกัด.

3. ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: บรัทเดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจ

4. ทิศนา แขมมณี. (2540). การคิดและการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาการเรียนการสอน สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี.

5. ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

6. ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

7. ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธา.

8. ทิศนา แขมมณี. (2553). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา: กลยุทธ์การสอน. บรรยายในที่ประชุมสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน. 17 กุมภาพันธ์ 2553.

9. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558

10. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแนวทางการปฏิบัติ. เอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552. (เอกสารอัดสำเนา).

11. สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเพทฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

12. ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2524). หลักและวิธีการสอนระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช

13. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

14. ธีรวุฒิ เอกะกลุ . (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตรและสังคมศาสตร. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี

15. สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2538). จิตวิทยาการเรียนรู้วัยผู้ใหญ่ = Adult learning psychology. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์

16. Eggen & Kauchak. (2006). Strategies and Models for Teachers: Teaching Content and Thinking Skills. Pearson/ Allyn and Bacon

17. Joyce, B, & Weil, M. (1996). Model of teaching. 5th ed. Boston : Allyn and Bacon.

18. Richard I Arends. (2001). Exploring Teaching: An Introduction to Education. McGraw-Hill Humanities /Social Sciences/Languages.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย