ความพึงพอใจ ความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการต่องานแผน วิจัย และพัฒนา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • กนกภรณ์ หัมพานนท์
  • พรชนก เกตุกัณฑร

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2017.12

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ความต้องการและความคาดหวัง, งานแผน, วิจัยและพัฒนา, วิทยาลัยนานาชาติ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการต่องานแผน วิจัย และพัฒนา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจ ความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการต่องานแผน วิจัย และพัฒนา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยในการจัดทำวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างที่จะทำการสำรวจโดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นจำนวน 260 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการตอบแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยคำถาม 4 ด้าน คือ ด้านข้อมูลทั่วไป ด้านความ พึงพอใจของผู้รับบริการต่อหน่วยแผน วิจัย และพัฒนา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ด้านความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการต่อหน่วยแผน วิจัย และพัฒนา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลและด้านปัญหา/ข้อเสนอแนะ เพื่อนำปัญหาและข้อเสนอแนะที่ได้รับในการทำวิจัยครั้งนี้มาปรับปรุง แก้ไข และพัฒนา เกี่ยวกับการบริการของหน่วยแผน วิจัย และพัฒนา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลให้ดียิ่งขึ้น

          ผลการศึกษาพบว่า 1. ความพึงพอใจ ความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการต่อหน่วยแผน วิจัย และพัฒนา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยด้านอายุ ประเภทตำแหน่ง หน่วยงานที่สังกัด ความถี่ในการประสานงาน/ติดต่อภายในระยะเวลา 6 เดือน และประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างกันส่งผลต่อความพึงพอใจ ความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการต่อหน่วยแผน วิจัย และพัฒนา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

1. นงลักษณ์ สุวิสิษฐ์และสมจิต หนุเจริญกุล. (2554). ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของบริษัท ทรงพล การบัญชีและกฎหมาย จํากัด. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 17 (2), 264-275.

2. ภากรณ์ น้ำว้า และศิริวิมล วันทอง. (2550). ความพึงพอใจของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล ด่านมะขามเตี้ย อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

3. สมิต สัชฌุกร. (2543). การต้อนรับและบริการที่เป็นเลิศ. พิมพ์ ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ สายธาร.

4. อาศยา โชติพานิช. (2549). การบริการที่ดี. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

5. โสภาวรรณ ตรีสุวรรณ์. (2550). ความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพบริการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อโรงแรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ศศ.ม.,มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

6. สุวารี มณีเนตร และเฉลิมชัย เอื้อวิริยะวิทย์. (2553). ความคาดหวัง และความพึงพอใจของบุคลากร ในการใช้บริการอาคารสถานที่ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. (การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนครั้งที่ 9).

7. Millet. (1954). Management in the Public Service. The quest for effective performance. New York: McGraw-Hill Book.

8. Parasuraman, A., Zeithaml, V.A. & Berry, L.L.1986. SERQUAL,: Amultiple Item Scale for Measuring Customer Perceptions of Service Quality. n.p.: Marketing Science, Institute, Working Paper Report No.86-108.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย