การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เสมือนสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • วรัญชัย พนานุรักษา
  • วิไล ศรีปัญญาวุฒิคุณ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2017.10

คำสำคัญ:

เครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์เสมือน, ดับเบิลยูเอ็มไอ, ต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเทคโนโลยีเซิร์ฟเวอร์เสมือนและนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล 2) วิเคราะห์ข้อมูลการใช้ฮาร์ดดิสก์และหน่วยความจำหลักของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ระบบงานเดิม 3) วิเคราะห์ต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของระบบงานเดิมและระบบเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือน และ 4) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพระบบงานเดิมและระบบเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่อง Web Server เครื่อง Application Server และ เครื่อง File Server  ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) Microsoft SQL Server 2014 2) Microsoft Visual Studio 2010 3) ชุดคำสั่ง WMI และ4) ซอฟต์แวร์ Hyper-V ซึ่งงานวิจัยนี้จะพัฒนาโปรแกรมเก็บข้อมูลการใช้งานฮาร์ดดิสก์และหน่วยความจำหลักของระบบงานเดิมเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานเป็นค่าเฉลี่ยและร้อยละ รวมถึงการวิเคราะห์ต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของระบบเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือนที่ลดลงได้กว่าระบบงานเดิมโดยคิดเป็นร้อยละ

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ฮาร์ดดิสก์และหน่วยความจำหลักของเครื่องเซิร์ฟเวอร์กลุ่มตัวอย่างมีการใช้งานน้อยมากในแต่ละวัน โดยขนาดฮาร์ดดิสก์ 60 GB มีค่าเฉลี่ยการใช้งานต่อวันเท่ากับ 29.64 MB คิดเป็นร้อยละ 0.048 ของฮาร์ดดิสก์ทั้งหมด หน่วยความจำหลักขนาด 2 GB มีค่าเฉลี่ยการใช้งานต่อวันเท่ากับ 0.31410 GB คิดเป็นร้อยละ 15.705 ของหน่วยความจำหลักทั้งหมด  2) ถ้าระบบมีอายุการใช้งาน 3 ปี จะทำให้เปอร์เซ็นต์ต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของระบบเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์เสมือนลดลงได้ประมาณ 1.28 จากระบบงานเดิม 3) จากข้อมูลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพพบว่าระบบเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือนจะประหยัดค่าใช้จ่ายและมีความยืดหยุ่นกว่าระบบงานเดิม

References

1. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสามพราน. (2559). ตัวอย่างการคิดค่าไฟ ประเภท 4.2.2 (TOU). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2559, จากhttps://web.pea. co.th/sites/c3/sap/home.aspx

2. เกษมานันท์ นพจรูญศรี. (2555). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพซอฟต์แวร์ประเภทไฮเปอร์ไวง เซอร์บนสถาปัตยกรรมx86. คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร:13 - 15.

3. ดิ แอร์ คอน. (2559). วิธีการคำนวณค่าไฟและประมาณการค่าไฟของแอร์ต่อเดือน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2559, จาก http://www.theaircond.com/electriccalculation.htm

4. นัฐกร เฉยศิริ. (2554). การเปรียบเทียบ Virtualization Techniques สาหรับการใช้งานในองค์กร. Executive Journal. 31, 3 (July-September): 181-186.

5. วรวุฒิ จันทรประทาน. (2555). ระบบตรวจสอบการทำงานเซิร์ฟเวอร์บนระบบปฏิบัติการวินโดว์ ส. คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร: 18-23.

6. สุวัฒน์ ทองคงใหม่. (2555). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์เสมือนสำหรับองค์กร. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

7. หทัยรัตน์ ปาลาศ. (2558). การประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้พลังงานไฟฟ้าในสำนักงานคณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21-22.

8. Andrew Zhelezko. (2014). How to convert physical machines to virtual – Disk2VHD. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2559 ,จาก https://hyperv.veeam.com/Blog/how-to-convert-physical-Machine-hyper-v-virual-machine-Disk2vhd/

9. Bichler, M., Setzer, T., & Speitkamp, B. (2006). Capacity Planning for Virtualized Servers. Workshop on Information Technologies and Systems (WITS). Wisconsin, USA.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย