การพัฒนารูปแบบและระบบการให้คะแนน Popular vote ของโปสเตอร์กลุ่มผลงานนวัตกรรมและงานประจำสู่งานวิจัยในมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • ปิยะณัฐ พรมสาร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2022.18

คำสำคัญ:

มหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล, QR Code, Poster Vote System

บทคัดย่อ

         มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดกิจกรรมมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กรในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และดำเนินการตามยุทธศาสตร์เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพันธกิจต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2557 โดยได้เปิดรับผลงานพัฒนาคุณภาพเพื่อพิจารณารางวัลและนำเสนอในวันมหกรรมใน 4 ประเภท ซึ่งในโปสเตอร์กลุ่มผลงานนวัตกรรมและงานประจำสู่งานวิจัยได้มีการตัดสินผลงานในประเภท Popular Vote โดยใช้การให้คะแนนจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมและก่อนปี 2561 ได้ให้คะแนนโดยบัตรให้คะแนน ซึ่งต้องใช้ทรัพยากร พลังงาน มีความผิดพลาด และมีอัตราการได้ผลคะแนนกลับมาต่ำกว่าร้อยละ 30  ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาระบบการให้คะแนนดังกล่าวโดยใช้ระบบ Online (Google Drive & Quick Response Code) ในปี 2561 และ 2562 มีอัตราการได้ผลคะแนนกลับมาเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 26.47 ในปี 2560 เป็น ร้อยละ 67.39  ในปี 2561 และร้อยละ 75.50 ในปี 2562 อีกทั้งลดการใช้ทรัพยากรและบุคลากร แสดงผลข้อมูลที่เป็นเวลาจริง (Real-time) ระยะเวลาการเปิดรับผลคะแนนเพิ่มขึ้น 2 ชั่วโมง เป็นมิตร (User friendly) แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และยังเป็นวิธีการที่ช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจกรรมเพิ่มขึ้นด้วย

References

กนกพร กระจางแสง, และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2560). อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานและการสนับสนุนจากองค์กรที่สงผลต่อคุณภาพในการปฏิบัติงานผ่านความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลนครธน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี,11(26),116-129.

ขวัญจุฑา คำบรรลือ, วิวัฒน์ มีสุวรรณ์, และ พิชญาภา ยวงสร้อย. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด เพื่อส่งเสริมกิจกรรม การเรียนรู้สำหรับศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วย เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.19(1),184-193

พิมพิไร สุพัตร. (2561) QR Code ลดเวลาต่ออายุสมาชิก: กรณีศึกษา หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยมหิดล. PULINET Journal,5(1),16-24.

เพ็ญพักตร แกล้วทนงค์, พรเพ็ญ จันทรา, และ ภัทราภรณ์ เพ็ชรจารัส (2561). การประยุกต์ใช้ Google Application เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทางานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. วารสารสาระคาม,9(2),41-56

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560, 4 เมษายน). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 2560. สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. https://www.etda.or.th/content/thailand-internet-user-profile-2017.html

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2563, 25 กุมภาพันธ์). สถิติเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. IT-T003 แนวโน้มการใช้โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2553 – 2561. http://stiic.sti.or.th/stat/ind-it/it-t003/

สุภชา แก้วเกรียงไกร, กัลยาณี ประสมศรี, มณฑา ชาวโพธิ์, และ รวิสรา รูปสวย. (2558, 3 พฤศจิกายน) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม ของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ของกรมชลประทาน. ธรรมาภิบาลกับการบริหารจัดการน้ำชลประทานในมุมมองของผู้รับบริการ. http://kmcenter.rid.go.th/kcplan/KM%20Data/Research/Reserch%20PMQA.pdf

อาพร สุนทรวัฒน์, และ ทัดทอง พราหมณี.(2560) การประยุกต์ใช้ Google Sheet ในการบริหารงบประมาณ. PULINET Journal,4(3),24-33.

Bartuskova, Aneta & Krejcar, Ondrej.(2015) Loading Speed of Modern Websites and Reliability of Online Speed Test Services. Computational Collective Intelligence. Lecture Notes in Computer Science ,9330,65-74. https://doi.org/10.1007/978-3-319-24306-1_7

Cebi, S. (2013). Determining importance degrees of website design parameters based on interactions and types of websites. Decision Support Systems, 54(2):1030-43.

W3C Web Accessibility Initiative. (2019, 24 March). Evaluating Web Accessibility Overview. Evaluating Web Accessibility Overview _ Web Accessibility Initiative (WAI) _ W3C. https://www.w3.org/WAI/test-evaluate/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย