การศึกษาความผูกพันของนักศึกษาต่อวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • จุฑารัตน์ ทิพย์บุญทรัพย์
  • ศศิธร โรจน์สงคราม

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2017.5

คำสำคัญ:

ความผูกพัน, ความภาคภูมิใจ, อาจารย์, เพื่อน, รุ่นพี่รุ่นน้อง

บทคัดย่อ

          การศึกษาความผูกพันของนักศึกษาที่มีต่อสถาบันการศึกษานั้นได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่สำหรับในประเทศไทยการศึกษาความผูกพันของนักศึกษาที่มีต่อสถาบันระดับอุดมศึกษาในหลักสูตรนานาชาตินั้นยังมีไม่แพร่หลายมากนัก ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะทำการศึกษา  โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความผูกพันของนักศึกษาต่อวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความผูกพันของนักศึกษาต่อวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล  โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1-4 ประจำปีการศึกษา 2557-2558  จำนวน 358 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 37 ข้อ มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ที่ 0.933 (Cronbach’s Alpha) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณ

          ผลการวิจัยพบว่า 1)  ความผูกพันของนักศึกษาต่อวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) จากข้อมูลเบื้องต้นของนักศึกษาผู้วิจัยพบว่า ความแตกต่างกันของ เพศ หลักสูตร และ ผลการเรียนไม่ส่งผลต่อความผูกพันต่อวิทยาลัยในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  แต่กลับพบว่าข้อมูลเบื้องต้นของนักศึกษา ได้แก่ ชั้นปี การเข้าร่วมกิจกรรมกลางของวิทยาลัยและการเข้าร่วมกิจกรรมของชมรม/สโมสรนักศึกษาส่งผลต่อความผูกพันต่อวิทยาลัยในภาพรวมที่แตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05    3) ค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อวิทยาลัยในภาพรวมของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ความภาคภูมิใจต่อวิทยาลัย สภาพแวดล้อมภายในวิทยาลัย ความผูกพันต่ออาจารย์ ความผูกพันต่อเจ้าหน้าที่ ความผูกพันต่อรุ่นพี่/รุ่นน้องและความผูกพันต่อเพื่อน มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันต่อความผูกพันต่อวิทยาลัยในภาพรวม  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์ (2555). เทคโนโลยีการศึกษาวิชาชีพ . (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

จำรัส พิมพา. (2547). การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร. ปริญญานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพมหานคร.

ธเนศ ขำเกิด. (2541). องค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารวิชาการ ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 กันยายน, 2541.

นักรบ หมี้แสน. (2558). ความผูกพันต่อองค์การของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการอุดมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพ.

บงกช วงศ์หล่อสายชล. (2555). กลยุทธ์การสร้างความยึดมั่นผูกพันกับโรงเรียนของนักเรียนจากผลการวิเคราะห์เอสอีเอ็ม : การพัฒนาและการนำไปปฏิบัติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต ความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรุงเทพ.

มหาวิทยาลัยมหิดล. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยจรรยาบรรณบุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัย มหิดล และการดำเนินการทางจรรยาบรรณ พ.ศ.2552.

สานิตตา วงศ์สุรเศรษฐ์. (2551). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารกสิกรไทย (มหาชน) จำกัด เขต 32. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

อรวรรณ จุลวงษ์. (2555). การศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับความรู้สึกผูกพันต่อสถาบันการศึกษาของนักเรียนพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (พ.ค-ส.ค) 2555

Astin, A.W. (1971). The college environment. 2nd ed. New York : American council on education.

Beck, E. (1970). Perspective on World Education. Wisconcin: Wm. C. Brown Company.Eggert, L.L., Thompson, E.A. Herting,

J.R.,Nicolas, L.J.,&Dicker, B.G. ( 1994). Preventing adolescent drug abuse and high school dropout through an intensive school-based social network development program. American Journal of Health Promotion, 8:202-215.

Spady, G. (1971). Dropout from Higher Education : Toward an Empirical Model. Interchange, 2(3), pp. 38-62.

Galliher, R. V., Evans, C. M., & Weiser, D. (2007). Social and individual predictors of substance use for Native American youth. Journal of Child and Adolescent Substance Abuse.

Libbey , H. P. ( 2004 ). Measuring student relationships to school: Attachment, bonding, connectedness, and engagement . Journal of School Health.

Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology.

Newcomb, M. (1962). Student Peer-Group Influence in Personality Factors on The College Campus. New York: Social Science Research Council.

Ryans, G. (1960). Characteristic of Teacher Manasha. George Benta Company.Steers, M. & Porter, L.M. (1983). Employee Commitment to Organization in Motivation & Work Behavior. Third Edition. New York : McGraw-Hill Book Company.

Tinto, V. (1997, November/December). Classrooms as Communities : Exploring the Educational Character of Student Persistence. Journal of Higher Education, 68 (6), 599-623.

Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis.(2 ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย