การศึกษาพฤติกรรมการจัดการและความคิดเห็นเกี่ยวกับเครื่องแบบพยาบาลของเจ้าหน้าที่พยาบาลฝ่ายการพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์

ผู้แต่ง

  • รุ่งธิวา กันทะวัน
  • ธัญกานต์ สุรคุปต์
  • พูลสุข หิรัญสาย

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2017.4

คำสำคัญ:

เครื่องแบบพยาบาล, ชุดพยาบาลสีขาว, หมวกพยาบาล, รองเท้าพยาบาล

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการและความคิดเห็นเกี่ยวกับเครื่องแบบพยาบาลของเจ้าหน้าที่พยาบาลในศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ จากประเด็นปัญหาเรื่องความไม่คล่องตัวในการปฏิบัติงานในขณะที่สวมเครื่องแบบพยาบาลสีขาวประกอบกับการแพร่กระจายเชื้อจากเครื่องแบบไปสู่ผู้ป่วยรายอื่น โดยสำรวจจากพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลสังกัดฝ่ายการพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ทั้งหมด 1,022 คน ได้ข้อมูลตอบกลับร้อยละ 84.64 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20 - 29 ปี ซึ่งพักอาศัยอยู่ในหอพักพยาบาลทั้งในและนอกโรงพยาบาล มีการให้การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อมากกว่า 5 ครั้ง/เดือนถึงร้อยละ 74.75 ซึ่งการให้การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อวันละหลายครั้งนั้นต้องใช้เวลาในการถอดหมวกและสวมชุดป้องกันการติดเชื้อ การติดกิ๊บใส่และถอดหมวกในแต่ละครั้งทำให้เกิดการดึงรั้งเส้นผมหลุดล่วงเป็นหย่อมๆได้ และร้อยละ 90.82 เดินทางกลับจากปฏิบัติงานด้วยเครื่องแบบพยาบาลสีขาว การเดินไปกลับด้วยรถโดยสารสาธารณะก็มีโอกาสที่จะแพร่กระจายเชื้อไปสู่ชุมชน ส่วนเรื่องพฤติกรรมการทำความสะอาดหมวกพยาบาลร้อยละ 56.33 ใช้งานหมวก 1 ใบในระยะเวลา 1 ปีและมีถึงร้อยละ 76.23 ที่ทำความสะอาดเดือนละ 1 - 2 ครั้ง จะเห็นได้ว่าหมวกเป็นองค์ประกอบของเครื่องแบบพยาบาลที่มีประเด็นทั้งในด้านความคล่องตัวในการปฏิบัติงานและการทำความสะอาดในด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของพยาบาลร้อยละ 94.95 เห็นว่าเครื่องแบบพยาบาลสีขาวเป็นภาพลักษณ์ของพยาบาลเพราะเครื่องแบบพยาบาลสีขาวถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของพยาบาลมาตั้งแต่สมัยฟอเรนซไนติงเกล แต่ในแง่ความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 64.05 มีความเห็นว่า เครื่องแบบพยาบาลทำให้เกิดความไม่คล่องตัวในการปฏิบัติในการให้การพยาบาลนั้นต้องใช้ทักษะความรู้ความสามารถทางวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติยอมรับในความเป็นวิชาชีพของพยาบาล พยาบาลจึงมองในแง่ของความคล่องตัวของเครื่องแบบที่สวมใส่ในการปฏิบัติงานมากกว่าจะใช้เครื่องแบบเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ให้เกิดการยอมรับ ส่วนใหญ่ร้อยละ 89.53 ต้องการเปลี่ยนชุดปฏิบัติการพยาบาลในอนาคตใหม่และร้อยละ 88.27 ไม่ต้องการใส่หมวกขณะปฏิบัติงาน เพราะส่วนใหญ่เห็นว่าหมวกที่สวมใส่ทำให้ไม่คล่องตัวในการทำงาน จึงต้องการชุดปฏิบัติการพยาบาลที่มีความคล่องตัวและทำความสะอาดง่ายไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน ส่วนเครื่องแบบพยาบาลสีขาวนั้นเป็นสัญลักษณ์ของพยาบาลสมควรนำมาใช้ในงานพิธีการสำคัญต่างๆ แต่ไม่เหมาะกับการสวมใส่ในการปฏิบัติงานประจำวัน

References

1. Dominiak M.C., The Concept of Branding: Is it Relevant of Nursing Nurs Sci Quarterly 2004; 17(4): 295-300.

2. Loveday H.P., Wilson J.A., Hoffman P.N., Pratt R.J.,Public perception and the social and microbiological significant of uniforms in the prevention and control of healthcare-associated infections: an evidence review. British journal of infection Control, 2007; 8(4):10-21.

3. Hwang S.M., Lee W.S., Chol E.H., Nurse’s cap alopecia. Inter J Dermatology 1999: 38: 187-191.

4. Laura A. Stokowski. The Demise of the Nurse's Cap. Medscape. Aug 10, 2011

5. Perry C., Marshall R., and Jones E., Bacterial contamination of uniforms. J Hosp infect 2001: 48; 238-41.

6. Price-Munoz L.S., Arheart K.L., Lubarsky D.A., Birnbach D.J., Differential laundering practice of white coats and scrubs among health care professionals. 2013; 41: 565-7.

7. Price-Munoz L.S., Arheart K.L., Mills J.P., Cleary T et. Al. Associations between bacterial contamination of health care workers’ hands and contamination of white coats and scrubs. 2012; 40:e245-8

8. Shintani H., Hashi F., Sakakibara Y.,Kurosu S., Miki A. and Furukawa T., Relationship between the Contamination of the Nurse’s Caps and Their Period of Use in Terms of Microorganism Numbers. J Biocontrol Sci 2006; 11(1):11-6.

9. Sibbald B., Capping off an era, CMAJ,2001;164(8): 1190-1

10. Well-Wiener Y., Galuty M., Rudensky B., Schlesinger Y., Attias D. and Yinnon M.A., Nursing and physician attire as possible source of nosocomial infections. Am J infect control 2011; 39(7):555-9.

11. Wilson A.J., Loveday P.H., Hoffman N.P., Pratt J.R., Uniform : an evidence review of the microbiological significance of uniforms and uniform policy in the prevention and control ofhealthcare-associated infections. Report to the Department of Health (England). J Hosp infect 2007; 66: 301-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย