รูปแบบการจัดบริการคลินิกสุขภาพเด็กดีที่พึงประสงค์

ผู้แต่ง

  • ดุษณี ดำมี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2017.2

คำสำคัญ:

คลินิกสุขภาพเด็กดี, การสัมภาษณ์, การซักประวัติ, การตรวจวินิจฉัย, การสร้างภูมิคุ้มกัน, การให้คำแนะนำทั่วไป, การจัดโรงเรียนพ่อแม่

บทคัดย่อ

          รูปแบบการจัดบริการสุขภาพสำหรับเด็กในคลินิกสุขภาพเด็กดี  ตามสถานบริการแต่ละระดับทั่วประเทศ มีปัญหาขาดแคลนเจ้าหน้าที่  ในการจัดบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี  ประจำโรงพยาบาล สถานีอนามัย และสถานบริการสาธารณสุข  ทำให้เกิดความแตกต่างกันในด้านคุณภาพของสถานบริการที่แตกต่างกันในแต่ละระดับ ซึ่งขั้นตอนและรูปแบบการให้บริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี  ของสถานบริการแต่ละระดับจะมีความแตกต่างกันในด้านมาตรฐาน และความครอบคลุมของการบริการ  ทั้งด้านบุคลากร  วิชาการ อุปกรณ์ให้การศึกษา เครื่องมือเครื่องใช้ ด้านสถานที่ ตลอดจนด้านการบริหารจัดการ การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรูปแบบในการให้บริการที่พึงประสงค์ ในการให้บริการสุขภาพในคลินิกเด็กดี  ต้องมีความครอบคลุมในประเด็นดังต่อไปนี้ 1. การสัมภาษณ์และซักประวัติ 2. การตรวจวินิจฉัย 3. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน 4. การให้คำแนะนำทั่วไป 5. การจัดโรงเรียนพ่อแม่

          การเสริมสร้างให้เด็กมีสุขภาพดี มีพัฒนาการสมวัย เป็นบทบาทความร่วมมือของครอบครัว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ทำงานในคลินิกเด็กดี  ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งที่มีบทบาทในการเสริมสร้างให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยตั้งแต่แรกเกิด มีสุขภาพแข็งแรง เติบโตทั้งทางกาย และสติปัญญาได้เต็มศักยภาพ  พร้อมวุฒิภาวะทางอารมณ์  ให้การป้องกันโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน  และการป้องกันอุบัติเหตุด้วย

References

1. กัลย์สุดา อริยะวัตรกุล (2559). วัคซีน 2016 สำหรับเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 15 ปีที่พ่อแม่ต้องรู้ . เข้าถึงเมื่อ 17 มีนาคม 2560, จาก http://www.pidst.net

2. เกรียงศักดิ์ ซื่อเลื่อมและคณะ. (2554). รายงานการประเมินผลโครงการจัดบริการคลินิกสุขภาพเด็กดีคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน

3. กลุ่มงานอนามัยแม่และเด็ก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). คู่มือปฏิบัติการคลินิกสุขภาพเด็กดี. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย.

4. กรมป้องกันโรคระบาด (2559). ข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนเด็กสำหรับผู้ปกครองและญาติ. พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.

5. ทรรวรีก์ พิลัยเลิศ. (2558). การตรวจร่างกายและประเมินภาวการณ์เจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก. เข้าถึงเมื่อ 23 กันยายน 2559, จาก www.mhso.moph.go.th/

6. ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. (2557). สถานการณ์เด็กปฐมวัย. เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2559, จาก http://www.qlf.or.th/Home/Contents/812

7. สุริยเดว ทรีปาตี. (2557). คุณภาพปฐมวัย คุณภาพประเทศ. เข้าถึงเมื่อ 4 ตุลาคม 2559, จาก http://seminar.qlf.or.th/File/DownloadFile/676

8. สุกัญญา ฆารสินธุ์. (2555). รูปแบบการเลี้ยงดูเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ของปู่ ย่า ตา ยาย ที่บริโภคสุราและไม่บริโภคสุรา ในอำเภอแห่งหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; ขอนแก่น

9. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12: กรุงเทพมหานคร.

10. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). การสำรวจเด็กและสตรีในประเทศไทย. เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2559, จาก http://www.unicef.org/thailand/57-05-010-MICS_TH.pdf

11. องค์การยูนิเซฟ. (2557). รายงานสภาวะเด็กโลกประจำปี 2557. เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2559, จาก http://www.unicef.org/sowc2014/number.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ