ทิศทางและยุทธศาสตร์ด้านการวิจัย ระดับหน่วยงาน ระดับมหาวิทยาลัย ระดับประเทศ และระดับโลก เพื่อสนับสนุนการวิจัยเชิงกลยุทธ์ขององค์กร
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2017.1คำสำคัญ:
ยุทธศาสตร์ด้านการวิจัย, สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน, มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, QS World University Rankingsบทคัดย่อ
การวิจัย เป็นภารกิจที่มีความสำคัญในองค์กร ทั้งนี้เพราะองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ จะสามารถเกิดขึ้นได้หากมีกระบวนการวิจัยและพัฒนา การบริหารจัดเก็บข้อมูล ความรู้และประสบการณ์ขององค์กร อย่างเป็นระบบ รวมถึงบุคลากรด้านการวิจัยต้องศึกษาองค์ความรู้ ข้อมูลสารสนเทศ ทิศทาง นโยบายและยุทธศาสตร์ ตลอดจนตัวชี้วัด เกณฑ์การประเมินและค่าน้ำหนักด้านการวิจัยอย่างครอบคลุม ซึ่งจะช่วยให้การปฏิบัติงานด้านการวิจัยดำเนินไปอย่างราบรื่น และบรรลุเป้าหมายขององค์กรที่ตั้งไว้ โดยครอบคลุมตั้งแต่ ระดับหน่วยงาน มหาวิทยาลัย ประเทศและโลก ซึ่งในบทความนี้นำเสนอ 4 ระดับ ได้แก่ 1. ทิศทางและยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน คือ การสร้างความเป็นเลิศของงานวิจัยพัฒนาต้นแบบสาธารณสุขมูลฐานที่มีประสิทธิภาพในทุกภูมิภาคของโลก 2. ทิศทางและยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ มีความเป็นเลิศด้านการวิจัยที่มีผลกระทบต่อโลกและสังคม (Excellence in Research with Global and Social Impact) 3. ทิศทางและยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยของประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) คือ การสนับสนุนการวิจัยที่มุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ และแผนงานการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยพื้นฐานการวิจัยเชิงนโยบายและการประยุกต์ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม 4. ยุทธศาสตร์และทิศทางการวิจัยระดับโลก ของ QS World University Rankings (QS) คือ อัตราส่วนงานวิจัยถูกใช้อ้างอิงต่อคณาจารย์แต่ละคน (Citations per faculty)
References
2. มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). แผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2559 - 2562. ออนไลน์.เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2559,จาก http://intranet.mahidol/
3. เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) (2559). กรอบการวิจัยประจำปีงบประมาณ 2560 - 2561. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4. สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2542. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
5. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2555.) นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
6. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ .( 2559). ร่างนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2560 - 2564). ออนไลน์. เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2559, จาก http://www.nrms.go.th/FileUpload/Attatch/News/ 255908041558422182432.pdf.
7. Nation BreakingNews. (2558). มหิดลชิวแชมป์มหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของไทย. ออนไลน์. เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2559,จาก http://breakingnews. nationtv.tv/home/ read.php?newsid=758860.
8. Quacquarelli Symonds (2015). QS World University Rankings 2015/16. Online. Retrieved March 26, 2016, from http://www.topuniversities.com/ university-rankings/world-university-rankings/2015