วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของบุคลากร สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • เชาวนี พันธุ์ลาภะ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2017.30

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมองค์การ, สมรรถนะหลัก, สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยเรื่อง วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของบุคลากรสถาบันชีววิทยาศาสตร์ โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล จะช่วยให้เข้าใจถึงพฤติกรรมและการประพฤติปฏิบัติของคนในองค์การได้ดีขึ้น อีกทั้งยัง เป็นวิธีหนึ่งที่จะเพิ่มความเข้าใจคนในองค์การและนำมาสร้างสรรค์การพัฒนาองค์การได้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบวัฒนธรรมองค์การ ประเมินสมรรถนะหลักของบุคลากร และศึกษาวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อ สมรรถนะหลักของบุคลากรสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาครั้งนี้เป็นบุคลากรทุกประเภทที่ สังกัดสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 82 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ ขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) ในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม

          ผลการวิจัยพบว่า 1) สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มีวัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์มากที่สุด รองลงมาคือ วัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ-เฉื่อยชา และวัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ-ก้าวร้าว ตามลำดับ    2) บุคลากรของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มีสมรรถนะหลักด้านความรับผิดชอบในงาน มากที่สุด รองลงมา คือ ความยึดมั่นในคุณธรรม  การทำงานเป็นทีม การมุ่งผลสัมฤทธิ์ และวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ ตามลำดับ   3) วัฒนธรรมองค์การที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะหลักของบุคลากรสถาบันฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มากที่สุด คือ วัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ รองลงมาคือ วัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ-ก้าวร้าว  โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะหลัก  ส่วนวัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ-เฉื่อยชา ไม่มีความสัมพันธ์กับ สมรรถนะหลักของบุคลากรสถาบันชีววิทยาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

References

1. กริช สืบสนธิ์. (2535). สร้างวัฒนธรรมให้องค์การสร้างวิถีทางสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : หจก.เอช-เอน การพิมพ์

2. จรัสศรี สุขป้อม. (2555). การจัดการทรัพยากรมนุษย์และวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อสมรรถนะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง

3. ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

4. ณรงค์วิทย์ แสนทอง. 2547. มารู้จัก COMPETENCY กันเถอะ. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

5. ทิวา เหล่าปาสี. (2559). วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครูตามมาตรฐานความรู้ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.

6. ประภาศรี ดำสอาด (2551) วัฒนธรรมองค์กรของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

7. ปัณณษร เทียนทอง. (2555). วัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารธนชาต. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

8. พนิตนาฏ ชำนาญเสือ และประกริต รัชวัตร์. (2550), รายงานการวิจัย วัฒนธรรมองค์กรของวิทยาลัยพยาบาลบรม ราชชนนีสระบุรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรี. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรี สถาบัน พระบรมราชชนก สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข

9. เสน่ห์ เพียรขุนทด. (2554). วัฒนธรรมองค์การของเรือนจำและทัณฑสถาน เขต 3 กรมราชทัณฑ์. ปริญญารัฐ ประศาสนศาสตรมหาบัณพิต แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

10. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการไทย (ก.พ.ร.) (2556) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2556-พ.ศ.2561). บริษัท วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย. พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤษภาคม 2556

11. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548) คู่มือสมรรถนะข้าราชการพลเรือนไทย. สํานักงาน ก.พ. บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด กรุงเทพมหานคร

12. สมยศ นาวีการ (2546) การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ 2546

13. สุมาลีแสงสว่าง. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับสมรรถนะหลักของบุคลากรดีมาก. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

14. สุเกียง สุดสวาท. (2555). วัฒนธรรมองค์การและความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในพื้นที่สังกัดสานักงานสรรพสามิตภาคที่ 7. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

15. เสน่ห์ เพียรขุนทด (2554) วัฒนธรรมองค์การของเรือนจำและทัณฑสถาน เขต 3 กรมราชทัณฑ์ รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

16. อภิสิทธิ์ คิดโสดา. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับสมรรถนะการทำงานของพนักงาน ลูกจ้าประจำ และลูกจ้าในสังกัดที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดสกลนคร. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

17. อริษา ท้าวแดนคำ. (2552). วัฒนธรรมองค์การและคุณภาพการทำงาน: กรณีศึกษา พนักงานเทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

18. อริยา ธัญญพืช และคณะ. (2554) คู่มือระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน มหาวิทยาลัยมหิดล (Handbook of the PerformanceManagement System Mahidol University) งานสร้างเสริมศักยภาพและขีดความสามารถทรัพยากรบุคคล กองทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยมหิดล มกราคม 2554

19. อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2549). Competency Dictionary (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

20. อินทิรา ลิ้มปัญญา (2552) ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของข้าราชการกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษากลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

21. อรุณรัตน์ คันธา (2550) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์การ การรับรู้นิสัยของการเรียนรู้สู่องค์การแห่งการเรียนรู้ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ กับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรระดับปฏิบัติการในฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย. ปริญญาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

22. Cooke, R. A., & Lafferty, J. C. (1989). Organizational Culture Inventory, leader’s guide. (2nd ed.). Plymouth MI : Human Synergistics.

23. Cook, W.C. & P.L. Hunsaker. (2001). Manaement and Organizational Behavior. (3rded.). New York : The McGrew-Hill.

24. Denison, D. R. & A. K. Mishra (1995). “Toward a Theory of Organizational Culture and Effectiveness,” Organization Science, 6, 2, 204-223

25. Desimone, L.R., J.M. Werner & D.M. Harris. (2002). Human resource Development. (3rded.). United State of America : Harcount.

26. Fakhar Shahzad et al (2012). Impact of Organizational Culture on Organizational Performance: An Overview. Interdisciplinary Journal of Contemporary Research in Business. Institute of Interdisciplinary Business Research. January 2012 Vol 3, No 9.

27. Kotter, J. P. & Heskett, J. L. (1992). Corporate culture and performance. New York: Free Press.
McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than for intelligence. America: American Psychologist. 28, 1–14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย