ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • วรรณภา ตันทิวากร

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2017.28

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของบุคลากร, การพัฒนาคุณภาพ, เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ  (1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ข้อมูลในการวิจัยทำการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบเชิงพหุ ด้วยโปรแกรม SPSS  

สรุปผลการวิจัยที่สำคัญได้ดังนี้

  1. ระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ในระดับปานกลาง
  1. ตัวแปรอิสระที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวม คือ ปัจจัยด้านการปฏิบัติการขององค์กร  ได้แก่ การจูงใจ บรรยากาศขององค์กร และการร่วมมือกันปฏิบัติงานทุกหน่วยงาน  โดยสามารถร่วมกันทำนายการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร้อยละ 59.2 

References

1. กฤษณา แปงณีวงศ์. (2555). การมีส่วนร่วมของบุคลากรสายสนับสนุนในด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยพะเยา. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

2. กัญญวัลย์ ศรีสวัสดิ์พงษ์. (2554). การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดกาฬสินธุ์. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

3. คณะกรรมการการอุดมศึกษา, สำนักงาน. เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ พ.ศ. 2558 – 2561 [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2559, จาก https://onedrive.live.com/?authkey=%21AJugj7wyssluf0U&cid=580A1DF0F121D8D8&id=580A1DF0F121D8D8%211508&parId= 580A1DF0F121D8D8%21113&o=OneUp.

4. งานประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

5. ใจชนก ภาคอัต. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา : กรณีศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

6. นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

7. ปรารถนา อังคประสาทชัย. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.

8. เปี่ยมสุข ทุ่งกาวี. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของบุคลากรสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2. กรกฎาคม – ธันวาคม 2558.

9. วรรณารัตน์ ประทุมสุวรรณ และคณะ. (2555). ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานและลักษณะทางจิตที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ในการประกันคุณภาพการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

10. สุภชา แก้วเกรียงไกร และคณะ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ของกรมชลประทาน. ส่วนวิเคราะห์นโยบาย กองแผนงาน กรมชลประทาน.

11. สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2556). การศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในงานประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรสำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

12. อัชราภรณ์ มาตรา. (2555). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของครูสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

13. เอกธิป สุขวารี. (2554). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศสำหรับสถาบันอุดมศึกษา. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย