ความเสี่ยงมะเร็งเต้านม ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตนในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรี : กรณีศึกษาจังหวัดจันทบุรี
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2017.26คำสำคัญ:
ความเสี่ยงมะเร็งเต้านม, ความรู้, เจตคติ, การปฏิบัติตน, การตรวจเต้านมด้วยตนเองบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 30-70 ปี กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบหลายขั้นตอน มี 3 กลุ่ม ได้แก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 30 คน อาสาสมัครสาธารณสุขเชี่ยวชาญด้านการตรวจเต้านมด้วยตนเอง จำนวน 60 คน และสตรีอายุ 30-70 ปี จำนวน 128 คน พื้นที่ดำเนินการ อ.ท่าใหม่ และ อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม 1 ฉบับ และเต้านมเทียม 1 ชุด ระยะเวลาในการดำเนินงาน 2 ปี (เดือน เม.ย.57 – มี.ค.59) แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (13-14 ต.ค.57) ระยะที่สองพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (11,13 ก.พ.58 และ 3,6 มี.ค.58) ระยะที่สามเก็บข้อมูล (เดือน ส.ค.58) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลแสดงจำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมค่อนข้างดี ยกเว้นมีความรู้น้อยในเรื่อง 1) ความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมจะสูงเมื่ออายุที่เป็นประจำเดือนครั้งแรกน้อย 2) การมีบุตรเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี มีโอกาสมากขึ้นต่อการเป็นมะเร็งเต้านม 3) ภาวะอ้วนหรืออ้วนลงพุงมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม สตรีอายุ 30 - 70 ปี และอาสาสมัครสาธารณสุขมีเจตคติที่ดีต่อการตรวจ เต้านมด้วยตนเองแต่มีเจตคติเห็นด้วยหรือไม่แน่ใจในเรื่อง 1) การตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมจะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมจากรังสี 2) ผู้หญิงที่พบก้อนที่เต้านมจากการตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรมถือว่าเป็นมะเร็ง เต้านมทุกราย การประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองในกลุ่มสตรีอายุ 30 - 70 ปี และอาสาสมัครสาธารณสุข พบว่าการดูเต้านมและหัวนมถูกต้องเพียงร้อยละ 24.9 วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองถูกต้อง 6 ขั้นตอน ร้อยละ 25.4 และมีการคลำหาตำแหน่งและจำนวนก้อนจากเต้านมเทียมได้ครบเพียงร้อยละ 2.5 โดยตำแหน่งที่คลำพบน้อยที่สุด คือ บริเวณไหปลาร้าและรักแร้ ทั้งนี้จากผลการศึกษาข้างต้น 1) ควรเพิ่มการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องและเจตคติที่ดีต่อการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง 2) การพัฒนาความรู้และทักษะการดูเต้านม หัวนม และวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 6 ขั้นตอนอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ ทุกเดือนให้กับอาสาสมัครสาธารณสุข 3) การสุ่มสำรวจสตรีอายุ 30 - 70 ปี เพื่อดูความถูกต้องสม่ำเสมอของการดูเต้านม หัวนมและวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 6 ขั้นตอนและการลงข้อมูลในสมุดบันทึกด้วย
References
2. กริช โพธิสุวรรณ. (2553). มะเร็งเต้านม รู้เร็วหายเร็ว. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2558, จากhttp//www.elibonline.com/doctors46/cancerbreast003.html.
3. ธรรมนิตย์ อังศุสิงห์. (2558). บทบาทของมูลนิธิถันยรักษ์ในโครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม. เอกสารการประชุมเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558, จากการประชุมประเมินประสิทธิผลภายใต้โครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม.
4. บงกช เก่งเขตกิจ, เพ็ญศรี ระเบียบ, สุพรรณี เอี่ยมรักษา. (2542). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีไทย.วารสารสภาการพยาบาล: 14,24-36.
5. บุษบา สมใจวงษ์ และคณะ. (2548). การส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีในอำเภอบ้านผ่าง จังหวัดขอนแก่น. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น: 28, 11-20.
6. พรพิมล คุ้มหมื่นไวย, อุบล จันทร์เพชร, ศิริลักษณ์ ขณะฤกษ์. (2549). การตรวจเต้านมด้วยตนเองของบุคลากรสาธารณสุขพื้นที่เขตสาธารณสุขที่ 4. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนาปีที่ 4 ฉบับที่ 1: 33-43.
7. เรวดี เพชรศิราสัณฑ์. (2545). ปัจจัยที่อธิบายพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีมุสลิมในจังหวัดปัตตานี. คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยมหิดล.
8. วรรณี ศักดิ์ศิริ. (2557). การศึกษาความรู้ เจตคติเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านดอนคา. นครศรีธรรมราช: รายงานการวิจัยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนคา.
9. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ. (2558). การประเมินผลประสิทธิภาพการตรวจเต้านมด้วยตนเองภายใต้โครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. กรุงเทพมหานคร: รายงานการวิจัยจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.
10. สำนักส่งเสริมสุขภาพ. (2556). การสำรวจพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีไทย อายุ 30 - 70 ปี. นทบุรี: รายงานการวิจัยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
10. สำนักส่งเสริมสุขภาพ. (2545). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพสตรีในการดูแลและป้องกันโรคมะเร็งเต้านม. นนทบุรี: รายงานการศึกษาวิจัยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.