แนวทางการจัดเตรียมเอกสารเพื่อขอรับการประเมินผลการสอนในชั้นต้น สำหรับสายวิชาการ ของมหาวิทยาลัยมหิดล
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2017.19คำสำคัญ:
การประเมินผลการสอนในชั้นต้น, ตำแหน่งทางวิชาการ, แผนการสอน, เอกสารการสอนบทคัดย่อ
ทักษะการสอน การวางแผนการสอน และการเรียบเรียงเอกสารการสอน เป็นขั้นตอนสำคัญที่คณาจารย์ถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษา การสอนที่ดีนอกจากจะส่งเสริมให้นักศึกษาได้รับความรู้เต็มประสิทธิภาพ และมีผลลัพธ์การเรียนรู้ตามเป้าหมายแล้ว ยังมีส่วนทำให้อาจารย์มีความก้าวหน้าในตำแหน่งทางวิชาการด้วย อย่างไรก็ตาม ในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ขั้นตอนการประเมินผลการสอนในชั้นต้นต้องมีการจัดเตรียมเอกสารจำนวนมาก ซึ่งมีระเบียบแบบแผนตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยและคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) อาจารย์หลายท่านอาจไม่ทราบรายละเอียดหรือความแตกต่างของเอกสารแต่ละประเภท ซึ่งอาจทำให้เกิดความล่าช้าในการขอกำหนดตำแหน่งได้ โดยทั่วไป การประเมินผลการสอนในชั้นต้นประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การประเมินการสอน ซึ่งอาจารย์ต้องวางแผนการสอน แจกแผนการสอนและเอกสารต่างๆ ให้นักศึกษา และทำการสอนต่อหน้าอนุกรรมการ ผู้ประเมิน อีกส่วนคือการประเมินเอกสารการสอน ซึ่งชนิดของเอกสารขึ้นอยู่กับตำแหน่งทางวิชาการที่จะขอกำหนดตำแหน่ง บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายรายละเอียดของการประเมินผลการสอนในชั้นต้น โดยเน้นประเด็นที่มักพบความผิดพลาด อีกทั้งวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของส่วนงาน (คณะหรือสถาบัน) เพื่อเป็นการสนับสนุนให้คณาจารย์ได้ตำแหน่งทางวิชาการโดยเร็วที่สุด
References
2. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินผลการสอน ในการขอแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ พ.ศ. 2554