ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกรับบริการทางทันตกรรม จากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • ศรัณยา ณัฐเศรษฐสกุล
  • วลัยพร ราชคมน์
  • วรัญญา เขยตุ้ย

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2018.10

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, เลือกรับบริการทางทันตกรรม, คณะทันตแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกรับบริการทาง ทันตกรรมจากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงศึกษาพฤติกรรมการมารับบริการของผู้มารับบริการ ด้วยการแจกแบบสอบถามแก่ผู้มารับบริการจำนวน 400 ชุด โดยการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า  t- test การทดสอบ one-way ANOVA และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD ผลการศึกษาพบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้มารับบริการทางทันตกรรม จากคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล มีระดับการตัดสินใจในภาพรวมทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุดตามลำดับ ได้แก่ ด้านความไว้วางใจ ด้านการให้บริการ ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการ และด้านสถานที่ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกรับบริการทางทันตกรรม พบว่า 1) ผู้มารับบริการทางทันตกรรมที่มีเพศแตกต่างกัน มีปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรับบริการทาง ทันต กรรมในด้านความไว้วางใจ ด้านการให้บริการ และด้านกระบวนการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนด้านสถานที่ และด้านบุคลากรแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ 2) ผู้มารับบริการทางทันตกรรมที่มีอายุแตกต่างกัน มีปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรับบริการทางทันตกรรมในด้านกระบวนการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนด้านความไว้วางใจ ด้านการให้บริการ ด้านสถานที่ และด้านบุคลากรแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ 3) ผู้มารับบริการทางทันตกรรมที่มีสถานภาพส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรับบริการทางทันตกรรมในด้านกระบวนการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนด้านความไว้วางใจ ด้านการให้บริการ ด้านบุคลากร และด้านสถานที่ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ 4) ผู้มารับบริการทางทันตกรรมที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ด้านวุฒิการศึกษา อาชีพ และรายได้แตกต่างกันมีปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรับบริการทางทันตกรรมในด้านความไว้วางใจ ด้านการให้บริการ ด้านกระบวนการ ด้านสถานที่ และด้านบุคลากรแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ และผลการสำรวจพฤติกรรมการมารับบริการของผู้มารับบริการ พบว่า 1) ผู้มารับบริการเลือกรับบริการทางทันตกรรมในระบบบริการมากที่สุด 2) ลักษณะการมารับบริการผู้มารับบริการจะมาเพื่อรับการตรวจ/รักษาทางทันตกรรมทั่วไป ได้แก่ ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน มากที่สุด 3) ผู้มารับบริการจะเป็นผู้ที่ตัดสินใจเลือกรับบริการด้วยตนเองมากที่สุด  และ 4) วิธีการชำระค่าบำบัดรักษาส่วนใหญ่ผู้มารับบริการจะชำระเองด้วยเงินสด

References

1. กชพร ณฐภัทร. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบริการของลูกค้าคลินิกรักษาสิว-ฝ้าและเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ โครงการปริญญาโทสำหรับผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; กรุงเทพฯ.

2. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ. รายงานสถิติคลินิกทันตกรรม, [ออนไลน์]. 2559. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2560, จาก http://www.mrd.go.th.

3. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2553). รายงานการประเมินตนเอง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. เอกสารประกอบการรับการเยี่ยมเพื่อประเมินระดับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล, หน้า 6.

4. นันทิดา มัชฌิม. (2553). การตัดสินใจใช้บริการจัดฟันของประชาชนจากคลินิกทันตกรรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2553.

5. น้ำเย็น วารีวนิช. (2551). ปัจจัยการตัดสินใจซื้อและการรับรู้เกี่ยวกับสปาและนวดแผนไทยในเขต อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี; สุราษฎร์ธานี

6. บรรยงค์ โตจินดา. (2548). องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: รวมสาส์น.

7. บุญมี พันธุ์ไทย. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยการศึกษาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

8. ปริญ ลักษิตานนท์. (2554). จิตวิทยาและพฤติกรรมผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เหรียญบุญการพิมพ์ (1998).

9. มานิต รัตนวุวรรณ และสมฤดี ศรีจรรยา. (2553). ยุทธศาสตร์การตลาดทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สแมท คอร์ปอเรท มาร์เก็ตติ้ง คอนซัลดิ้ง กรุ๊ป.

10. มานิต ศิริวัชรไพบูลย์. (2550). ปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินบางกอกแอร์เวย์ของผู้โดยสารคนไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต; กรุงเทพฯ.

11. เรณู เพชรไม้. (2551). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มารับบริการทางทันตกรรมจากคลินิกเด็นทัลแคร์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร; กรุงเทพฯ.

12. สมคิด บางโม. (2548). องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.

13. สมฤดี ธรรมสุรัติ. (2554). ปัจจัยคุณภาพบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการและความภักดีต่อตราสินค้าของโรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; กรุงเทพฯ.

14. อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2539). พฤติกรรมผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

15. Belch, George E. and Belch, Michael A. (1993). Introduction to Advertising and Promotion: An Integrated Marketing Communications Perspective. 2 nd ed. Boston, Mass: Richard D. Irwin, Inc.

16. Cronbach, L. J. (1974). Essentials of psychological testing. New York: Harper & Row, 16.

17. Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย