ความพึงพอใจการใช้บริการศูนย์บริการงานหอพักของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ ปานดอนลาน
  • ปรางค์ฉาย พันธ์เพชร
  • รุ่งสุรีย์ สุวรรณมาลี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2018.7

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้บริการศูนย์บริการงานหอพัก มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี และศึกษาลักษณะการให้บริการเป็นวัตถุประสงค์รอง โดยทำการสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้บริการศูนย์บริการงานหอพัก ประจำปีการศึกษา 2559 จำนวนทั้งสิ้น 144 ตัวอย่าง ระหว่างเดือนมกราคม – เดือนมีนาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ จำนวนความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยโปรแกรม SPSS version 18 (ลิขสิทธิ์มหาวิทยาลัยมหิดล)

          ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจมากในด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ (คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.31) ความพึงพอใจรองลงมา ได้แก่ ด้านคุณภาพการให้บริการ นักศึกษามีความพึงพอใจมาก (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.23) ด้านกระบวนการขั้นตอนในการให้บริการและด้านสถานที่สิ่งอำนวยความสะดวก นักศึกษามีความพึงพอใจมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 นักศึกษาใช้บริการทางด้านไปรษณีย์มากเป็นลำดับที่หนึ่ง (ร้อยละ 90.3) ลำดับต่อมาคือการบริการด้านพยาบาล (ร้อยละ 63.2) ด้านยืม-คืนกุญแจสำรอง (ร้อยละ 54.2) ด้านการซ่อมบำรุง (ร้อยละ 36.8) และด้านให้คำปรึกษา (ร้อยละ 9.7) ตามลำดับ

References

1. กรทอง ศรีทามณี. (2555). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหอพักของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา.

2. จันทนา ประสงค์กิจ. (2552). คุณภาพการให้บริการของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป. ชลบุรี : วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

3. พินทุ์ณาดา กิตติวาณิชย์. (2553). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการพักอาศัยหอพักในมหาวิทยาลัย. เชียงใหม่ :มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

4. พักตร์วิภา ศุภโกศล. (2546). ความพึงพอใจของนิสิตปริญญาตรีที่มีต่อการให้บริการหอพักมหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

5. มนตรี แย้มกสิกร. (2542). รายงานผลการวิจัยเรื่อง รูปแบบของหอพักนักศึกษาสำหรับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย. ชลบุรี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

6. รุจิรา เหลืองอุบล และน้ำลิน เทียมแก้ว. (2555). ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2554. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

7. เลื่อมใส ใจแจ้ง. (2546). สมาคมสันติบาตรเทศบาลแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

8. วีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2538). คุณภาพในงานบริการ. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

9. ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). ทฤษฏีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที 4. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

10. สาโรช ไสยสมบัติ. (2534). ความพึงพอใจในการทำงานของครูอาจารย์โรงเรียน มัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต. มหาสารคาม : สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ วิโรฒ มหาสารคาม.

11. สุจิตตรา ไนยจิตต์. (2555). ความคาดหวังและการรับรู้ของลูกค้าต่อคุณภาพการให้บริการ: กรณีศึกษาธนาคารกรุงไทย จำกัด มหาชน. ปทุมธานี : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

12. สุพิชชา ศรเลี่ยมทอง. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการด้านคุณภาพการให้บริการ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กรณีศึกษา: ที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดพิษณุโลก (ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ 17 ตำบล). วิทยานิพนธ์เสนอคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

13. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

14. หลุย จำปาเทศ. (2533). จิตวิทยาสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สามัคคีสาส์น.

15. Best J. W. (1977). Research in Education(3rd ed). New Jersey : Prentice hall Inc.

16. Chaplin J.P. (1998). Dictionary of psychology (3th ed.). New York : Penquin Books.

17. Cochran W.G. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons. Inc.

18. Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). NewYork : Wiley & Son.

19. Morse and Nancy C. (1955). Satisfaction in the White Collar Job. Michigan: University of Michigan Press.

20. Shelly M.W. (1975). Responding to Social Change. Pensylvania : Dowden Hutchison & Ross.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย