ศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพาและส่งคลื่นผ่านระบบโทรศัพท์ เพื่อการวินิจฉัย กรณีผู้ป่วยนอก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

ผู้แต่ง

  • อุรศรี อิ่มสมบูรณ์
  • โสภิตา อารีรอบ
  • กัญชพร คงช่วย
  • ธัชพงศ์ งามอุโฆษ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2018.11

คำสำคัญ:

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ, เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพาและส่งคลื่นผ่านระบบโทรศัพท์

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและศึกษาระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยรับเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพาจนกระทั่งมีอาการและกดส่งคลื่นไฟฟ้าหัวใจครั้งแรก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่สงสัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่เข้ารับบริการในหน่วยตรวจผู้ป่วยนอก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 117 คน (อายุเฉลี่ย 52.7 ± 17.1ปี เพศหญิง 64.1%)  คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยและแบบบันทึกอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพาและส่งคลื่นผ่านระบบโทรศัพท์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะส่งคลื่นไฟฟ้าหัวใจกลับมายังศูนย์รับข้อมูลทั้งสิ้น 387 คลื่นฟ้าหัวใจ เฉลี่ย 2.88 คลื่นไฟฟ้าหัวใจ/คน (SD = 3.55, Range 0 – 21) ระยะเวลาเฉลี่ยของการเกิดอาการผิดปกติ 14.56 นาที (SD  24.15, Range 1 -180)  ลักษณะของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่พบมากที่สุดคือ Normal sinus rhythm ร้อยละ 46  และคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่พบมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ Sinus tachycardia ร้อยละ 43.5 Premature atrial contraction ร้อยละ 17.7 Premature ventricular contraction ร้อยละ 14.3 sinus bradycardia ร้อยละ 11.5 และ Atrial fibrillation ร้อยละ 8.6 อาการที่พบก่อนการส่งคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 5 ลำดับแรกได้แก่ หัวใจเต้นเร็ว ร้อยละ 94 ใจสั่น/ใจกระตุก ร้อยละ 83.8 เหนื่อย ร้อยละ 51.3 แน่นหน้าอก ร้อยละ 19.6 ใจหวิว ร้อยละ 14.5 ส่วนใหญ่เกิดอาการในขณะนั่งเฉยๆ ร้อยละ 68.4 นอนหลับ ร้อยละ 55.6 ทำงาน ร้อยละ 25.6 ระยะเวลาเฉลี่ยของผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะตั้งแต่รับเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพาจนมีอาการผิดปกติและส่งผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจครั้งแรก เท่ากับ 6.88 วัน (SD = 7.72, Median = 3, Range 0 - 35)  ระยะเวลาเฉลี่ยของผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะตั้งแต่รับเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพาจนมีพบผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ เท่ากับ 9 วัน (SD = 7.92, Median = 7, Range 1 - 33) ข้อสรุปจากการวิจัย การใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพามีประโยชน์ในการวินิจฉัยกลุ่มผู้ป่วยที่สงสัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เข้ารับบริการในหน่วยตรวจผู้ป่วยนอก โดยระยะเวลาเฉลี่ยในการวินิจฉัยประมาณ 9 วัน

 

References

1. นโยบายและยุทธศาสตร์. (2556). ข้อมูลสุขภาพที่สำคัญ. Retrieved from http://bps.ops.moph.go.th/Healthinformation/statistic56/2.3.6.pdf.

2. ในพระบรมราชูปถัมภ์, ส. (2557). แนวทางและระบบการดูแลเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด. Retrieved from http://www.thaiheart.org/images/column_1291454908/CADGuideline.pdf.

3. สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). การตรวจทางหัวใจ. Retrieved from www.thaiheart.org/รู้จักหัวใจ/การตรวจทางหัวใจ.html.

4. หน่วยเวชสถิติ. (2558). ข้อมูลสถิติบริการหน่วยตรวจผู้ป่วยนอก. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

5. Anczykowski, J., Willems, S., Hoffmann, B. A., Meinertz, T., Blankenberg, S., & Patten, M. (2016). Early Detection of Symptomatic Paroxysmal Cardiac Arrhythmias by Trans‐Telephonic ECG Monitoring: Impact on Diagnosis and Treatment of Atrial Fibrillation. Journal of cardiovascular electrophysiology, 27(9), 1032-1037.

6. Association, A. H. (2015). About Arrythmia. Retrieved from http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/Arrhythmia/AboutArrhythmia/About-Arrhythmia_UCM_002010_Article.jsp#.VjWlEGyhfIU.

7. Association, A. H. (2015, September2016). Prevention & Treatment of Arrhythmia. Retrieved from http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/Arrhythmia/PreventionTreatmentofArrhythmia/Prevention-Treatment-of-Arrhythmia_UCM_002026_Article.jsp#.WMzkf_l97IU

8. Rothman, S. A., Laughlin, J. C., Seltzer, J., Walia, J. S., Baman, R. I., Siouffi, S. Y., . . . Kowey, P. R. (2007). The diagnosis of cardiac arrhythmias: a prospective multi‐center randomized study comparing mobile cardiac outpatient telemetry versus standard loop event monitoring. Journal of cardiovascular electrophysiology, 18(3), 241-247.

9. Saarel, E. V., Stefanelli, C. B., Fischbach, P. S., Serwer, G. A., Rosenthal, A., & Dick, M. (2004). Transtelephonic electrocardiographic monitors for evaluation of children and adolescents with suspected arrhythmias. Pediatrics, 113(2), 248-251.

10. Tsang, J.-P., & Mohan, S. (2014). Benefits of monitoring patients with mobile cardiac telemetry (MCT) compared with the Event or Holter monitors. Medical Devices (Auckland, NZ), 7, 1.
Zimetbaum, P., & Goldman, A. (2010). Ambulatory arrhythmia monitoring. Circulation, 122(16), 1629-1636.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย