การศึกษาปัญหาการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • วิภาดา ช่วยรักษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อินท์ชลิตา สุวรรณรังสิมา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2021.45

คำสำคัญ:

ปัญหาการขอตำแหน่งทางวิชาการ, บุคลากรสายสนับสนุน, มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2) เพื่อศึกษาระดับของปัญหาการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัญหาการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์บุคลากรจำนวน 25 คน และแบบสอบถามจำนวน 146 คน ซึ่งใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติในเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) โดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) กับการแจกแจงความถี่ (Frequency Distributions) และร้อยละ (Percentage) และการวิจัยด้วยสถิติ T-test F-test

          ผลการวิจัยพบว่าปัญหาจากการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุนคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็น 3 ด้าน คือ ด้านเวลา ด้านความรู้ และด้านแรงจูงใจ

          ดังนั้น จึงควรมีการพิจารณาการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้ไม่มากเกินไป ให้มีการอบรมหรือให้ความรู้ในเรื่องของกฎเกณฑ์ ระเบียบ และความรู้ทางการวิจัยให้แก่บุคลากรอย่างสม่ำเสมอ และควรกำหนดนโยบายให้ผู้บริหารสร้างแรงจูงใจแก่บุคลากรในคณะต่าง ๆ ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ให้มีการสนับสนุนและติดตามอย่างใกล้ชิด

References

กองทรัพยากรบุคค มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562). ความก้าวหน้าในสายอาชีพของพนักงาน มหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://op.mahidol.ac.th/hr/

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. (2541). ยอดกลยุทธ์การบริหาร สำหรับองค์การยุคใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

ธงชัย สันติวงษ์. (2546). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 11.กรุงเทพฯ: บริษัท ประชุมช่าง จำกัด.

ธีรเดช ริ้วมงคล. (2555). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นฤมล นิราทร. (2534). การวางแผนอาชีพงานและการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพ. (ม.ป.ป.).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปภาวดี ประจักศุกษ์นิมิต, และกิ่งพร ทองใบ. (2537). ระบบและกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ. ในเอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ. (หน้า 98-102). นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พงษ์พันธ์ ลาดสุวรรณ. (2559). ความต้องการพัฒนาสายอาชีพของพนักงาน.(ม.ป.ป.).กรุงเทพฯ : บริษัท ไทย มายาซากิ จำกัด

วรางคนา ชูเชิดรัตนา. (2558). แรงจูงใจในการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์กร และความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคที่ส่งผลต่อความผูกพัน ต่อองค์กรของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ) สมิต สัชฌุกร. (2538). ศิลปะการให้บริการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

สุธน ตั้งสกุล. (2547).การพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพ.วารสารเพื่อคุณภาพ, 11 (86), 37-44.

Likert, R. et al. (1967). Some applications of behavioral research. Paris: Unesco

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย