ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • มัชฌิมา รัตนลัมภ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วชิราภรณ์ ทองคุ้ม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2021.27

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, ศึกษาต่อ, บัณฑิตศึกษา

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อและเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาโทและนักศึกษาระดับปริญญาเอก เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือนักศึกษาปัจจุบันหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 62 คน สุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t-Test ผลจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.93) โดยค่าเฉลี่ยอันดับหนึ่งได้แก่ ด้านอาจารย์ผู้สอน (gif.latex?\bar{x}=4.29) รองลงมาคือด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน (gif.latex?\bar{x}=4.07) ด้านภาพลักษณ์ของสถาบัน (gif.latex?\bar{x}=3.94) ด้านค่านิยมของนักศึกษาและผู้ปกครอง (gif.latex?\bar{x}=3.81) และด้านการประชาสัมพันธ์ (gif.latex?\bar{x}=3.53) ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอกเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) โดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านภาพลักษณ์ของสถาบันและด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กิตติภณ กิตยานุรักษ์. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ ตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ของนักศึกษาหลักสูตร สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตรถ์.

เกรียงศักดิ์ แสงจันทร์. (2549). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรรัฐประสนศาสตรบัณฑิตวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจมหาวิทยาลัยบูรพา.

จิราภรณ์ ไหวดี. (2540). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฉัตรชัย อินทรสังข์. (2552). ความต้องการศึกษาต่อและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ของนักศึกษา จังหวัดนครราชสีมา.งบประมาณเงินรายได้สาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มสาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ทัศนีย์ ชาติไทย. (2555). รายงานวิจัยแรงจูงใจและ ความต้องการในการศึกษาต่อหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ทองคูณ หงส์พันธุ์. (2541). สาระน่ารู้สู่ PR มืออาชีพ เอกสารประกอบการสัมมนาเครือข่าย ประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

ธํารง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบหลักสูตรและพัฒนา. กรุงเทพฯ :ธนรัช

ปวิณ พงษ์โอภาสและคณะ. (2555) ปัจจัยที่มีผลต่อการศึกษาต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีของนักศึกษาตอนปลาย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วารสารการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 8(1):27-33

พรรณพนัช จันหาและอัจฉริยา ปราบอริพ่าย. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(1):291-371

ลัชชา ชุณห์วิจิตราและณัฐวรรร ครุฑสวัสดิ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรทันตศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 3(1):111-123

QS World University Ranking: 2019. QS Top Universities. เข้าถึงเมื่อ 13 เมายน 2563 จาก https://www.topuniversities.com/university-rankings/world-university-rankings/2019

RUR World University Rankings: 2020. RUR World University Rankings. เข้าถึงเมื่อ 14 พฤษภาคม 2563 จาก https://roundranking.com/ranking/world-university-rankings.html#world-2020

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย