ประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคจอตาโดยการใช้โปรแกรมฐานข้อมูลการฉีดยาเข้าวุ้นตา

ผู้แต่ง

  • โสมนัส ถุงสุวรรณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พิชญะ เลาหชัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปิติพล ชูพงศ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นพศักดิ์ ผาสุขกิจวัฒนา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กษมา แก้วสังข์ทอง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2022.11

คำสำคัญ:

การฉีดยาเข้าวุ้นตา, โปรแกรม, ฐานข้อมูล

บทคัดย่อ

         ปัจจุบันการฉีดยาเข้าวุ้นตาเป็นการรักษามาตรฐานสำหรับโรคจอตาหลายโรค โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จำเป็นต้องรับการฉีดยามากกว่าหนึ่งครั้งและรับการตรวจติดตามเป็นระยะเวลานาน การทบทวนประวัติการฉีดยาในผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมีความซับซ้อน ใช้เวลานานและมีโอกาสผิดพลาดสูงโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาหลายครั้ง คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูลการฉีดยาเข้าวุ้นตา (IVT program) ขึ้น เพื่อช่วยให้การดูแลรักษา การตรวจติดตามและการวางแผนการรักษาผู้ป่วยทำได้ง่ายขึ้น รวมทั้งลดความผิดพลาดและระยะเวลาในการค้นหาข้อมูล นอกจากนั้นยังได้ทำการวิจัยขึ้นเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ IVT program ในการใช้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาเข้าวุ้นตาเทียบกับวิธีการค้นหาข้อมูลแบบปัจจุบันด้วยระบบเวชระเบียน โดยดูจากระยะเวลาในการค้นหาข้อมูลและความถูกต้องของข้อมูลโดยอาสาสมัครแพทย์ประจำบ้านจำนวน 15 คน ทำการลงข้อมูลในแบบทดสอบที่มีระดับความซับซ้อน 3 ระดับ ระดับละ 2 ชุดโดยแบบทดสอบชุดที่ 1 ค้นข้อมูลจาก IVT program และแบบทดสอบชุดที่ 2 ค้นข้อมูลจากระบบเวชระเบียน และมีเจ้าหน้าที่เก็บระยะเวลาที่ใช้ลงข้อมูลและความถูกต้องในแต่ละแบบทดสอบเพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อไป

         ผลการวิจัยพบว่า IVT program สามารถลดระยะเวลาในการค้นหาข้อมูลได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการหาข้อมูลจากระบบเวชระเบียน นอกจากนั้นความถูกต้อง

References

Flaxel, C. J., Adelman, R. A., Bailey, S. T., Fawzi, A., Lim, J. I., Vemulakonda, G. A., & Ying, G. S. (2020). Age-Related Macular Degeneration Preferred Practice Pattern®. Ophthalmology, 127(1), 1-65 https://doi.org/10.1016/j.ophtha.2019.09.024

Flaxel, C. J., Adelman, R. A., Bailey, S. T., Fawzi, A., Lim, J. I., Vemulakonda, G. A., & Ying, G. S. (2020). Diabetic Retinopathy Preferred Practice Pattern® Ophthalmology, 127(1), 66-145. https://doi.org/10.1016/j.ophtha.2019.09.025

Flaxel, C. J., Adelman, R. A., Bailey, S. T., Fawzi, A., Lim, J. I., Vemulakonda, G. A., & Ying, G. S. (2020). Retinal Vein Occlusions Preferred Practice Pattern®Ophthalmology, 127(2), 288-320 https://doi.org/10.1016/j.ophtha.2019.09.029

Gillies, M.C., Campain, A., Barthelmes, D., Simpson, J.M., Arnold, J.J., Guymer, R.H., McAllister, I.L., Essex, R.W., Morlet, N., Hunyor, A.P. & Fight Retinal Blindness Study Group. (2015). Long-term outcomes of treatment of neovascular age-related macular degeneration: data from an observational study Ophthalmology, 122(9), 1837-1845. https://doi.org/10.1016/j.ophtha.2015.0 5.010

Wells, J.A., Glassman, A.R., Ayala, A.R., Jampol, L.M., Aiello, L.P., Antoszyk, A.N., Arnold-Bush, B., Baker, C.W., Bressler, N.M., Browning, D.J., Elman, M.J., Ferris, F.L., Friedman, S.M., Melia, M., Pieramici, D.J., Sun, J.K., Beck, R.W. (2015). Aflibercept, bevacizumab, or ranibizumab for diabetic macular edema. The New England journal of medicine, 372(13), 1193-1203. https://doi.org/10.1056/NEJMoa1414264

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย