ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่นและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • เสรี สิงห์โงน
  • สาลินี จันทร์เจริญ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2018.20

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, เลือกเข้าศึกษาต่อ, สาขาวิชาจวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับเหตุผลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัวที่มี เพศ อายุ สาขาวิชาที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับคะแนนเฉลี่ย ประสบการณ์ทำงาน รายได้ สถานภาพสมรส แตกต่างกัน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากประชากรที่สมัครเข้าสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษา จำนวน 65 คน การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณ t-test และ One-Way ANOVA สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา จำแนก จัดกลุ่ม และแยกประเภทข้อมูลสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า เหตุผลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อมากเป็นอันดับหนึ่งคือ ด้านความภาคภูมิใจ (x̄= 4.38) รองลงมาคือ ด้านหลักสูตรและวิชาการ (x̄= 4.16) ด้านความคาดหวังในอนาคต (x̄= 4.09) และด้านเศรษฐกิจและสังคม (x̄= 3.21) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สาขาวิชาที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับคะแนนเฉลี่ย ประสบการณ์ทำงาน รายได้ สถานภาพสมรส ที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านอายุที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

1. กรมสุขภาพจิต. ปัญหาสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียน. เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2561 จากhttps://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=189

2. จิราภา เต็งไตรรัตน์และคณะ. (2555). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 7. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา. กรุงเทพฯ.

3. ใจชนก ภาคอัต. (2556). รายงานวิจัย ปัจจัยด้านการพัฒนาคุณภาพของสถาบันที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาระดับปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

4. ชื่นฤทัย กาญจนะจิตราและคณะ. (2552). ครอบครัวไทย “ในสถานการณ์การเปลี่ยนผ่านทางสังคมและประชากร ประชากรและสังคม” ใน ชาย โพธิสิตา และสุชาดา ทวีสิทธิ์. บรรณาธิการ. สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม.นครปฐม.

5. ทัศนีย์ ชาติไทย. (2555). รายงานวิจัยแรงจูงใจและความต้องการในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

6. ปวิณ พงษ์โอภาสและคณะ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วารสารการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 8 (1): 27-33.

7. ปาริชาติ คุณปลื้ม. (2555). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโท: กรณีศึกษานักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 9 (2): 35-43.

8. พรรณพนัช จันหาและอัจฉริยา ปราบอริพ่าย. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8 (1): 291-317.

9. รัชตนันท์ หมั่นมานะและรุจาภา แพ่งเกษร. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 4 (2): 627-639.

10. ลัชชา ชุณห์วิจิตราและณัฐวรรณ ครุฑสวัสดิ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาในหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 3 (1): 111-123.

11. ศศิธร บูรณ์เจริญ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาโทของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 4 (2): 136-159.

12. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ปัญหา "จิตเวช" เด็กและวัยรุ่น. เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2561 จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/30780-

13. สุทิติ ขัตติยะและวิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์. (2553). แบบแผนการวิจัยและสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. บจ.ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง. กรุงเทพฯ.

14. อุทุมพร ไวฉลาดและจงดี โตอิ้ม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10 (2): 165-177.

15. QS World University Ranking: 2018. QS TOP UNIVERSITIES. เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2561, จาก www.topuniversities.com/university-rankings/world-university-rankings/2018

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย