ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนิสิตบัณฑิตศึกษานานาชาติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • ลัชชา ชุณห์วิจิตรา
  • วาสนา บุญสมัย
  • ไพรินทร์ ต้นพุฒ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2018.19

บทคัดย่อ

          การศึกษางานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนิสิตบัณฑิตศึกษานานาชาติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศึกษาจากประชากรซึ่งเป็นนิสิตต่างชาติที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับบัณฑิตศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 34 คน  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 16 ข้อ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว ส่วนที่  2  เป็นแบบสอบถามปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนิสิตบัณฑิตนานาชาติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  จำนวน 5 ระดับ ส่วนที่ 3 เป็นคำแนะนำของนิสิตต่างชาติ จากการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนิสิตบัณฑิตศึกษานานาชาติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มากเป็นอันดับแรกคือ ปัจจัยระบบการศึกษา มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.19 รองลงมาคือ ปัจจัยสังคมและสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 และปัจจัยทุนการศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 สำหรับผลกระทบของปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนิสิตบัณฑิตศึกษานานาชาติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีช่วงระยะเวลาที่เข้าศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นปัจจัยด้านทุนการศึกษาและการเงินแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

1. ปิยนุช ทองทั่ว. (2552). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองนักเรียนไทยในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนนานาชาติหลักสูตรประเทศอังกฤษ ระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, กรุงเทพ.

2. พรพะเยาว์ ก๋งเม่ง. (2556). ความสามารถทางการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและการปรับตัวของนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยรังสิต. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.

3. มัญชรี โชติรสฐิติ. (2556). การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักเรียนไทยในต่างประเทศ. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารประยุกต์ คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

4. สุดปรารถนา ดวงแก้ว. (2558). การปรับตัวทางสังคมและวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นวัยหลังเกษียณที่พำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่ประเทศไทย. วารสารญี่ปุ่นศึกษา. บทความวิจัย. ปีที่ 31 ฉบับที่ 2(2557): ตุลาคม 2557 – มีนาคม 2558.

5. สุนทรียา ไชยปัญหา และอุรารักษ์ ศรีประเสริฐ. 2559. แนวคิด ทฤษฎีวัฒนธรรมการจัดการ: การปรับตัวภายใต้ความแตกต่างทางวัฒนธรรม. วารสารวิชา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2559.

6. สุรศักดิ์ บุญอาจ. (2558). กระบวนการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาชาวลาวและชาวกัมพูชาในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารนิเทศศาสตร์ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 2558 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

7. Ren Zhiyuan. (2555). การปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาชาวจีนในประเทศไทย กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยบูรพา. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, สาขาไทยศึกษา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย