การออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ประเภทวีดีทัศน์ เรื่อง การศึกษาระบบดาวคู่

ผู้แต่ง

  • ธนวัฒน์ รังสูงเนิน
  • พัฒนพงษ์ จำรัสประเสริฐ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2018.18

คำสำคัญ:

สื่อการเรียนรู้, ระบบดาวคู่, นวัตกรรม

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบพัฒนาและผลิตสื่อการเรียนรู้ประเภทวีดิทัศน์ เรื่อง การศึกษาระบบดาวคู่ เพื่อให้ผู้ที่สนใจทำการวิจัยเกี่ยวกับระบบดาวคู่สามารถศึกษาขั้นตอนและวิธีการได้ด้วยตนเอง ผู้วิจัยแบ่งเนื้อหาในวีดิทัศน์ออกเป็น 7 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 สถานที่เก็บข้อมูล ตอนที่ 2 ระบบดาวคู่ ตอนที่ 3 การควบคุมกล้องโทรทรรศน์ ตอนที่ 4 การถ่ายภาพดาว ตอนที่ 5 การถ่ายภาพดาวเพื่อการ Calibration  ตอนที่ 6 การวิเคราะห์ภาพดาว และตอนที่ 7 การสร้างกราฟเฟส  จากนั้นหาประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้โดยเลือกวิธีการวิเคราะห์ออกเป็น 3 วิธี  วิธีแรกดำเนินการตรวจประเมินและวิเคราะห์ประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจำนวน 9 ท่าน  ผลปรากฏว่าสื่อการเรียนรู้ เรื่องการศึกษาระบบดาวคู่มีประสิทธิภาพในระดับที่มาก  สามารถนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ได้  โดยค่าเฉลี่ยของรายการประเมินที่มีค่ามากที่สุด คือ เนื้อหาส่งเสริมต่อการเรียนรู้และเป็นประโยชน์สำหรับการนำไปใช้  ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 ค่าเฉลี่ยของรายการประเมินที่มีค่าน้อยที่สุดได้  คือ ความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหา เสียงบรรยายที่ใช้ประกอบ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากันที่  3.67  วิธีที่ 2 ผู้วิจัยนำสื่อการเรียนรู้ไปดำเนินการทดสอบกับผู้เรียน  โดยใช้แบบบันทึกคะแนนการทำกิจกรรมระหว่างเรียนกับคะแนนหลังเรียน ผลปรากฏว่า ประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้ (E1/E2) อยู่ที่ (76.33/76.90) ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้(75/75)  โดยมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนเรียนและหลังเรียน 2.41 และ 1.52 ตามลำดับ วิธีที่ 3 ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและวัดระดับความพึงพอใจต่อการใช้สื่อการเรียนรู้นี้กับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน 53 คน ผลปรากฏว่า คะแนนระดับความพึงพอใจเฉลี่ยในแต่ละด้านมีค่า 4.318 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.791 และมีระดับความพึงพอใจต่อการใช้สื่อการเรียนรู้ที่ระดับ มาก  สรุปได้ว่าสื่อการเรียนรู้ เรื่องการศึกษาระบบดาวคู่ มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนรู้และประกอบการวิจัยเกี่ยวกับระบบดาวคู่ได้

References

1. กิดานันท์ มลิทอง. (2553). สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ตอนที่ 2. [เว็บบล็อก]. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2561 , จาก http://gotoknow.org/blog/kriang

2. จิรศักดิ์ ฉิมนอก และคณะ. (2560). การวิเคราะห์กราฟแสงและวัตถุที่ 3 ของดาวคู่ วี 781 ทอรี. (โครงงานการศึกษาปัญหาพิเศษ ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).

3. ชุติมา ธรรมรักษา. (2559). สื่อการเรียนการสอนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้ SECI Model.[เว็บบล็อก]. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2561,จาก https://lookaside.fbsbx.com

4. ชวลิต เข่งทอง. (2560). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง สื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาเทคนิค ศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

5. เชิดตระกูล หอมจำปา. (2553). แบบจำลองของระบบดาวคู่แบบใกล้ชิด DF Hydrae. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา).

6. ธนวัฒน์ ธิติธนานันท์. (2553). การวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครราชสีมา :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

7. ธนวัฒน์ รังสูงเนิน. (2558). การวิเคราะห์กราฟแสงและคุณสมบัติทางกายภาพของระบบดาวคู่แบบใกล้ชิด วี392 โอไรโอนิส และเอฟแซด โอไรโอนิส. (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).

8. ธีรศานต์ ไหลหลั่ง. (2550). การออกแบบและประเมินชุดสื่อมัลติมีเดียวิชาการถ่ายภาพทางการศึกษาตามโมเดลการออกแบบของกานเยและบริกส์. (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ).

9. นิภาดา จรัสเอี่ยม และคณะ. (2558). การคิดและการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 5. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

10. บุญญฤทธิ์ ชุนหกิจ และคณะ. (2554). การเปลี่ยนคาบวงโคจรและวิวัฒนาการของระบบดาวคู่เอฟแซด โอไรโอนิส. (โครงงานการศึกษาปัญหาพิเศษ ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).

11. บุญธิดา ลิมาพงษ์ภาส และคณะ. (2558). ผลของการสอนก่อนผ่าตัดโดยใช้สื่อวีดีทัศน์ต่อความรู้และการปฏิบัติตนในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 9(1), 1 – 7.

12. บุญรักษา สุนทรธรรม. (2550). ดาราศาสตร์ฟิสิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ : หน่วยพิมพ์เอกสารวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

13. รสริน พิมลบรรยงก์ และคณะ. (2558). ประเภทของสื่อกับการออกแบบ. พิมพ์ครั้งที่ 5. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

14. สมัคร อยู่ลอง. (2556). การพัฒนาวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง การเป็นผู้ดำเนินรายการและวิทยากรรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม. (ปริญญานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)

15. Bob Nelson. (2017). Bob Nelson's Eclipsing Binary O-C Files AP Leo. [webblog]. Available : 2017, October 5 , From: https://www.aavso.org/bob-nelsons.

16. Byboth, K.N., Markworth, N.L. and Bruton, W.B,. (2004). AstroPhysics. IBVS, No 5554.

17. Kreiner et. al. (2017). Atlas of O-C Diagram of Eclipsing Binary Stars AP Leo. [webblog]. Available : 2017, January 27 , http://www.as.up.krakow.pl

18. Konkoly. (2004) . Photometric Analyses of the Contact Binaries FZ Orionis and AH Tauri. Department of Physics and Astronomy. Stephen F. U.S.A. : Austin State University Nacogdoches.

19. Liakos, P. Niarchos. (2006). The LightTime Effect in the W UMa – type eclipsing binary FZ Ori Astronomy and Mechanics : National & Kapodistrian University of Athens.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย