การพัฒนาระบบบริหารจัดการผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการของบุคลากรใน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • ไพรินทร์ ต้นพุฒ
  • พีรพงษ์ ตัวงาม
  • สุนิษา คงพิพัฒน์
  • สุวรรณา ก่อสุวรรณวงศ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2018.17

คำสำคัญ:

ระบบจัดเก็บผลงานวิจัย, ฐานข้อมูลผลงานวิจัย, ผลงานตีพิมพ์

บทคัดย่อ

          สำนักงานการวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีการจัดเก็บข้อมูลผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์  โดยการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเอกสารด้วย Microsoft Word 2010 ซึ่งพบว่าปัญหาการสรุปรายงานผลใช้เวลาค่อนข้างนาน มีขั้นตอนในการจัดทำรายงานข้อมูลซ้ำซ้อน เกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย ไฟล์ข้อมูลหลายไฟล์ หาไฟล์ข้อมูลหายหาไม่เจอ

          ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาระบบจัดเก็บผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการของบุคลากรในสังกัด โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Access 2010  ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สามารถจัดเก็บฐานข้อมูลในปริมาณมากๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันให้เป็นระบบตั้งแต่การจัดเก็บ ค้นหา และการสรุปรายงานผลข้อมูล โดยออกแบบและสร้างตารางสำหรับป้อนข้อมูล โดยมีตารางแสดงรายงานผลข้อมูลสามารถสรุปรายงานผลประจำเดือน ประจำปีในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ผลงานวิจัยตีพิมพ์แยกตามภาควิชา ค่า Impact Factor และ SJR (SCimago Journal Rank) ของผลงาน

          การบันทึกข้อมูลผลงานตีพิมพ์โปรแกรม Research Database มีรายละเอียดข้อมูลมากกว่าวิธีเดิมที่บันทึกในรูปแบบการอ้างอิง Vancouver การสรุปรายงานผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการของบุคลากรในคณะฯ ด้วยโปรแกรม Research Database ทดสอบความผิดพลาด (error) ของโปรแกรมในการรายงานผล 3 ครั้งเท่ากับ 0 และระยะเวลาในการสรุปรายงานผลวิธีเดิม (120±60 นาที) ลดลง (p=0.026) กว่าใช้โปรแกรม Research Database (0.02±0.003 นาที)

References

1. กัญญาพิไล กุญชรศิริมงคล. (2558). ดัชนีวัดคุณภาพวารสารวิชาการระดับนานาชาติ. [อินเตอร์เน็ท]. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2561, จากhttp://gopublished1.blogspot. com/2015/06/blog-post_69.html.

2. จิรันดร บู๊ฮวดใช้. (2558). การพัฒนาเว็บไซต์สาหรับการค้นหาเบอร์โทรศัพท์นักวิจัยในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. Mahidol R2R e-Journal, 2(2), 16-28.

3. ณัฐวี อุตกฤษฎ์. (2550). แนวทางการพัฒนาการจัดเก็บการบริหารข้อมูลสารสนเทศของสถานบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 3(6), 47-54.

4. ทีมจัดเก็บเอกสารงานบริหารและธุรการ. (2552). ถอดรหัส จัดเก็บเอกสาร. นวัตกรรมดีเด่น โครงการติดดาว ประจำปี 2552 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 469-71.

5. ธนวัต กาญจนวัฒนา. (2552). โปรแกรม Fat Splicer Version 7.9. นวัตกรรมดีเด่น โครงการติดดาว ประจำปี 2552 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 126-9.

6. พฤกชาติ ชาติรังสรรค์. (2560). โปรแกรมสำเร็จรูป MS access. [อินเตอร์เน็ท]. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2561, จาก https://sites.google.com/ site/psruba234/home/hnwy-thi-6-porkaerm-sarecrup-ms-access

7. พิสิฐ เมธาภัทร. (2549). ระบบสารสนเทศเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษา. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2(3), 52–9.

8. รุจเรขา อัศวิษณ. (2547). คา Impact Factor-ความสําคัญที่มีตอบทความวิจัยระดับนานาชาติ. [อินเตอร์เน็ท]. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2561, จากhttps://stang.sc. mahidol.ac.th/pdf/if.pdf

9. สิทธิชัย วรโชติกำจร และพัชราภรณ์ วรโชติกำจร. (2561). การพัฒนาระบบจัดเก็บและค้นคืนเอกสารงานสารบรรณ. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(1), 135–45.

10. สุกัญญา เรืองสุวรรณ. (2554). การวิเคราะห์ระบบสารสนเทศด้านการวิจัยจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยวิจัย. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 29(3), 81-96.

11. สุนิษา คงพิพัฒน์, ณัฑฐา ภัทรวิสิฐเศรษฐ์ และณฐมน ทองใบอ่อน. (2559). การพัฒนาโปรแกรม RE Management เพื่อการจัดการฐานข้อมูลเครื่องมือ/อุปกรณ์วิจัย. Mahidol R2R e-Journal, 3(2), 13-22.

12. หทัยชนก แจ่มถิ่น และอนิรุทธ์ สติมั่น. (2558). Veridian E-Journal, Slipakorn University. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 893-911.

13. อุษณี ม้ารุ่งอรุณ. (2560). การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อจัดทำ เอกสารสำคัญและระบบแจ้งเตือนการรายงานตัวทุกระยะ 90 วันของศูนย์การศึกษานักศึกษานานาชาติ. Mahidol R2R e-Journal, 4(1), 92-113.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย