การลงทะเบียนงานวิจัยทางคลินิกของไทย TCTR

ผู้แต่ง

  • อนุพงษ์ วีรบุรีนนท์
  • สุพัตรา สว่างกุล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2018.13

คำสำคัญ:

การลงทะเบียนงานวิจัยทางคลินิก, TCTR, งานวิจัย

บทคัดย่อ

          การลงทะเบียนงานวิจัยทางคลินิกของไทย (Thai Clinical Trials Registry, TCTR) จัดตั้งขึ้นโดยมูลนิธิส่งเสริมวิจัยทางการแพทย์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลและเผยแพร่งานวิจัยทางคลินิกในประเทศไทย สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยทางคลินิกให้โปร่งใส มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อนของงานวิจัย และถูกต้องตามหลักจริยธรรมในการนำเสนอผลงาน ครอบคลุมถึงงานวิจัยของแพทย์ทางเลือก สมุนไพร รวมทั้งประชาสัมพันธ์ฐานข้อมูลสู่กลุ่มประเทศอาเซียน

          งานวิจัยที่ได้รับการลงทะเบียนใน TCTR สามารถนำเลขทะเบียนงานวิจัยไปแจ้งไว้ในบทความงานวิจัยในการส่งพิจารณาตีพิมพ์กับวารสารต่างประเทศได้ตามระเบียบการว่าด้วยการตีพิมพ์งานวิจัยในวารสารกลุ่มของ International Committee of Medical Journal Editors (ICMJE) เพราะ TCTR ได้รับการรับรองให้เป็น Primary Registries Network นอกเหนือจาก ClinicalTrials.gov ตามมาตรฐานตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก (WHO) และ TCTR ก็ยังเป็นแหล่งฐานข้อมูลอีกฐานของ MedLine และ Pubmed อีกด้วย

          ข้อดีของการลงทะเบียนงานวิจัยทางคลินิกของไทย คือ การที่สามารถติดต่อกันระหว่างผู้รับลงทะเบียนงานวิจัย (TCTR) กับผู้วิจัยได้สะดวก มีเจ้าหน้าที่บริการให้ข้อมูลและช่วยเหลือการลงทะเบียนงานวิจัย ทำให้การลงทะเบียนมีความถูกต้องมากขึ้น

          แม้จะเป็นการลงทะเบียนงานวิจัยของไทยเอง แต่ใช้การลงทะเบียนด้วยภาษาอังกฤษทั้งหมด เพราะ TCTR รองรับการลงทะเบียนของทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่สู่สาธารณะ

          บทความนี้อธิบายเพิ่มเติมจากคู่มือการลงทะเบียนงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิก ถึงส่วนที่นักวิจัยแสดงข้อมูลคาดเคลื่อนบ่อยครั้ง เพื่อความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นในการลงทะเบียนงานวิจัยทางคลินิกกับ TCTR

 

References

1. จริยา เลิศอรรฆยมณี. (2552). หลักจริยธรรมการวิจัย ในคนและคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนของศิริราช. เวชบันทึกศิริราช, 2(1), 2-6.

2. ดารารัตน์ ชูวงศ์อินทร์, แสงระวี แทนทอง, พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2560). การลงทะเบียน ClinicalTrials.gov สำหรับงานวิจัยทางคลินิก (ตอนที่ 1). เวชบันทึกศิริราช, 10(1), 47-63.

3. ดารารัตน์ ชูวงศ์อินทร์, แสงระวี แทนทอง, พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2560). การลงทะเบียน ClinicalTrials.gov สำหรับงานวิจัยทางคลินิก (ตอนที่ 2). เวชบันทึกศิริราช, 10(2), 126-142.

4. วิชัย โชควิวัฒน์, สุชาติ จองประเสริฐ, ผู้แปล. (2551). ปฏิญญาเฮลซิงกิของแพทยสมาคมโลก (ค.ศ. 2000) หลักการจริยธรรมสำหรับการศึกษาวิจัยทางแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ = Declaration of Helsinki. นนทบุรี: สถาบันพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์.

5. มูลนิธิส่งเสริมวิจัยทางการแพทย์. (2559). คู่มือการลงทะเบียนงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิก. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2561, จาก http://www.clinicaltrials.in.th/FINAL%20TCTR%20Manual%2001102016.pdf

6. สัญญา สุขพณิชนันท์, บุษรา สุขพณิชนันท์. (2551). ปฏิญญาเฮลซิงกิ 2551 (Declaration of Helsinki 2008). เวชบันทึกศิริราช, 2(2), 57-67.

7. สัญญา สุขพณิชนันท์. (2552). การตีพิมพ์บทความซ้อนและการส่งต้นฉบับซ้อน (Duplication Publication & Submission). เวชบันทึกศิริราช, 2(1), 7-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ