กระบวนการอาโป-เอสเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้บรรลุเป้าหมายองค์กร

ผู้แต่ง

  • ศิริรัตน์ วงศ์ประกรณ์กุล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2019.8

คำสำคัญ:

กระบวนการอาโป-เอส, มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 เวอร์ชั่น 2015, การบูรณาการงานคุณภาพกับงานประจำ, การพัฒนาองค์กร, การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

บทคัดย่อ

          ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 องค์กรมุ่งมั่นต่อระบบริหารงานคุณภาพตามข้อกำหนดมาตรฐาน ISO 9001 ที่จะช่วยในการปรับปรุงสมรรถนะในภาพรวม องค์กรได้รับโอกาสเพื่อการปรับปรุงจากการประเมินโดยหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมบัญชีกลาง คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักการตรวจสอบ แต่ผลการประเมินดังกล่าวยังไม่ถูกนำมาบูรณาการเข้าสู่การปรับปรุงการทำงานประจำ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษากระบวนการอย่างเป็นระบบที่องค์กรจะสามารถนำโอกาสเพื่อการปรับปรุงเหล่านั้นมาบูรณาการกับการปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานรู้สึกภาคภูมิใจจากการทำงานอย่างมีประสิทธิผล โดยใช้ชื่อกระบวนการว่า อาโป-เอส ผลการวิจัย กระบวนการอาโป-เอส เป็นกระบวนการที่บูรณาการงานคุณภาพเข้ากับงานประจำ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้บรรลุเป้าหมายองค์กร และยังเป็นกลไกการบริหารจัดการความรู้ กระบวนการอาโป-เอส เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 2560 ถึง ปัจจุบัน ในปี 2560 เรื่อง A3 และ R2R ไม่ครบลูป PDCA ร้อยละ 16.7 ไม่สอดคล้องตามบทบาทหน้าที่และวัตถุประสงค์ของกระบวนงานหรือเป้าหมายองค์กรร้อยละ 50.0 ร้อยละของ A3 และ R2R ที่มีคะแนนต่ำกว่าร้อยละ 80 ร้อยละ 80.0 จำนวนผู้เข้าร่วมงาน Smile’s Day ทั้งสิ้น 125 คน คะแนนความพึงพอใจ 7.80 (เต็ม 10 คะแนน) จำนวนคณะกรรมการ 5 คน และจำนวนผลงานเด่น 7 เรื่อง ในปี 2561 เรื่อง A3 และ R2R ไม่ครบลูป PDCA ลดลงเหลือร้อยละ 1.4 ไม่สอดคล้องตามบทบาทหน้าที่และวัตถุประสงค์ของกระบวนงานหรือเป้าหมายองค์กรร้อยละ 25.0 ส่งผลให้ร้อยละของ A3 และ R2R ที่มีคะแนนต่ำกว่าร้อยละ 80 ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 26.4 จำนวนผู้เข้าร่วมงาน Smile’s Day ทั้งสิ้น 193 คน คะแนนความพึงพอใจ 8.72 (เต็ม 10 คะแนน) จำนวนคณะกรรมการ 35 คน และจำนวนผลงานเด่น 21 เรื่อง           

          สรุปผลการวิจัยได้ว่า กระบวนการอาโป-เอส อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการขับเคลื่อนงานคุณภาพเข้าสู่งานประจำ โดยบูรณาการผลการประเมินองค์กรจากหน่วยงานต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติจริงด้วยการปรับปรุงกระบวนงานตามวงจร PDCQ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมดำเนินการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในทิศทางเดียวกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ซึ่งช่วยเพิ่มสมรรถนะเจ้าหน้าที่ ในการวางแผนการคิดอย่างเป็นระบบ การกำกับติดตามโดยใช้ข้อมูล นอกจากนี้กระบวนการอาโป-เอสยังเป็นกลไกการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร ตั้งแต่การเก็บรวบรวมความรู้ การเผยแพร่ความรู้ และการใช้ความรู้ ความรู้ที่ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบจะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ทุกคนในองค์กร

References

1. กีรติ ยศยิ่งยง. (2550). การจัดการความรู้ในองค์การและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัท มิสเตอร์ ก็อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด.

2. คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). การจัดการความรู้: การบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2561, จาก http://www1.si.mahidol.ac.th/km/node/2287

3. ศิริรัตน์ วงศ์ประกรณ์กุล. (2560). การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้วยดัชนีวัดความภักดีของลูกค้า. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, ปีที่ 3 ฉบับที่ 2.4 หน้า 56-68.

4. Demarest, M. (1997). Understanding knowledge management. Journal of Long Range Planning 30(3):374-384.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย