การรับรู้คุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ ในหน่วยวิกฤต

ผู้แต่ง

  • นฤมล กิจจานนท์
  • อัจฉรา จงเจริญกำโชค

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2019.5

คำสำคัญ:

การประเมินการนอนหลับ, การสังเกตการนอนหลับ, ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ, หน่วยวิกฤต

บทคัดย่อ

          คุณภาพการนอนหลับ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วยวิกฤต ดังนั้นพยาบาลต้องให้ความสำคัญ ในการประเมินคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยวิกฤต และให้การพยาบาลเพื่อเพิ่มคุณภาพการนอนของผู้ป่วยวิกฤตในไอซียู    วิธีการประเมินคุณภาพการนอนหลับได้แม่นยำ เที่ยงตรงมากที่สุด คือ เครื่องมือวัดการนอนหลับ polysomnography (PSG) ซึ่งเป็นเครื่องมือมาตรฐานในการวัดการนอนหลับ แต่เครื่องมือนี้มีวิธีการและการแปลผลซับซ้อน ยุ่งยากและราคาแพง จึงไม่เหมาะกับการใช้ ในงานประจำในหอผู้ป่วยหรือไอซียู การประเมินการนอนหลับ โดยพยาบาลสังเกต หรือให้ผู้ป่วยประเมินตนเอง สามารถใช้ในงานประจำได้สะดวกง่ายและไม่มีค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ งานวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ ต้องการศึกษาการใช้แบบประเมินคุณภาพการนอนและแบบสังเกตการนอนของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจในไอซียู กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะ เจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 36 คน เก็บข้อมูลโดย 1) พยาบาลสัมภาษณ์ตามแบบประเมินคุณภาพการนอนที่บ้าน วันผ่าตัด และวันที่1 หลังผ่าตัด 2) พยาบาลสังเกตการนอนวันที่ 1หลังผ่าตัด ผลการศึกษา คุณภาพการนอนของผู้ป่วยที่บ้านอยู่ในเกณฑ์ดีมาก คุณภาพการนอนมีแนวโน้มลดลงหลังผ่าตัด การสังเกตคุณภาพการนอนโดยพยาบาลทุกชั่วโมงได้ผลใกล้เคียงกับแบบประเมินคุณภาพการนอน ที่ผู้ป่วยประเมินตนเอง

References

1. Beltrami, F. G., Nguyen, X.-L., Pichereau, C., Maury, E., Fleury, B., & Fagondes, S. (2015). , 41(6), 539–546. (2015). Sleep in the intensive care unit. Jornal Brasileiro de Pneumologia, 41(6), 539-546.

2. Bourne, R. S., Minelli, C., Mills, G. H., & Kandler, R. (2007). Clinical review: Sleep measurement in critical care patients: research and clinical implications. Critical Care, 11(4), 226.

3. Carney, C. E., Buysse, D. J., Ancoli-Israel, S., Edinger, J. D., Krystal, A. D., Lichstein, K. L., & Morin, C. M. (2012 ). The Consensus Sleep Diary: Standardizing Prospective Sleep Self-Monitoring. Sleep, 35(2), 287-302.

4. Czeisler, C. A., & Baldino. (2015). National Sleep Foundation Recommends New Sleep Times, for immediate release. Sleep Health: The Journal of the National Sleep Foundation. สืบค้นเมื่อ 12 ก.ค. 2017, จากhttps://sleepfoundation.org/press-release/national-sleep-foundation-recommends-new-sleep-times

5. Delaney, L. J., Haren, F. V., & Lopez, V. (2015). Sleeping on a problem: the impact of sleep disturbance on intensive care patients - a clinical review. Annals of Intensive Care 5(3), 1-10

6. Eliassen, K. M., & Hopstock, L. A. (2011). Sleep promotion in the intensive care unit A survey of nurses interventions. Intensive and Critical Care Nursing, 27(3), 138-142.

7. Elliott, R., McKinley, S., & Cistulli, P. (2011). The quality and duration of sleep in the intensive care setting: An integrative review. International Journal of Nursing Studies, 48(3), 384-400.

8. Grover, S., & Natasha, K. (2012). Assessment scales for delirium: A review. World Journal of Psychiatry, 2(4), 13.

9. Hofhuisa, J. G. M., Spronka, P. E., van Stel, H. F., Schrijvers, A. J. P., Rommes, J. H., & Bakkerc, J. (2008). Experiences of critically ill patients in the ICU. Intensive and Critical Care Nursing, 24, 300.

10. Nathaniel F. Watson, Safwan Badr, Gregory Belenky, Donald L. Bliwise, Orfeu M. Buxton, Daniel Buysse, . . . Tasali., E. (2015). Recommended Amount of Sleep for a Healthy Adult: A Joint Consensus Statement of the American Academy of Sleep Medicine and Sleep Research Society. Sleep, 38(6), 843-844.

11. Redeker, N. S., & Kleinpell, R. M. (2008). Challenges and opportunities associated with studying sleep in critically ill adults. AACN Advanced Critical Care, 19(2), 178-185.

12. Richardson, A., Allsop, M., Coghill, E., & Turnock, C. (2007). Earplugs and eye masks: do they improve critical care patients’ sleep? Nursing in Critical Care, 12(6), 278-286.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย