ทัศนคติและความคาดหวังของบุคลากรภายในคณะต่อการปฏิบัติงาน ของหน่วยอำนวยการและเลขานุการผู้บริหาร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • ศศิธร นิลเลิศ
  • วชิราวรรณ พรพิมลเทพ
  • พีรพงษ์ ตัวงาม

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2019.4

คำสำคัญ:

หน่วยอำนวยการและเลขานุการผู้บริหาร, ทัศนคติและความคาดหวัง, บุคลากรสายสนับสนุน

บทคัดย่อ

          เลขานุการผู้บริหารเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญและมีบทบาทอย่างยิ่งในแต่ละองค์กรเนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ต้องประสานงานกันระหว่างผู้บริหารที่เป็นผู้กำหนดทิศทางขององค์กรไปยังตัวผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กร การศึกษาถึงทัศนคติและความคาดหวังของบุคลากรภายในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มาใช้บริการภายในหน่วยอำนวยการและเลขานุการผู้บริหารจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

          การวิจัยครั้งนี้ เก็บข้อมูลจากบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 300 คน โดยใช้แบบสอบถาม  วิเคราะห์แบบสอบถามโดยใช้โปรแกรม SPSS ตั้งเกณฑ์ทัศนคติและความคาดหวังจากมากที่สุดไปน้อยที่สุดโดยใช้ค่าเฉลี่ย

          ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด จำนวน 300 คน มีทัศนคติความคิดเห็นด้านงานสารบรรณ  ด้านการต้อนรับและนัดหมาย  ด้านการประสานงาน/การติดต่อทางโทรศัพท์  ด้านการสร้างภาพลักษณ์ในระดับพึงพอใจและความคาดหวังอยู่ในระดับมากทั้งหมด (ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50)

References

1. จรูญ เรืองสวัสดิ์วงศ์. (2554). สมรรถนะการทำงานของเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเทพา อำเภอเทพาจังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

2. จิตตินันท์ เตชะคุปต์. (2544). เจตคติและความพึงพอใจในการบริการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

3. ตรีเพ็ชร์ อ่ำเมือง. (2561). วิจัยกระบวนการให้บริการของทีมเลขานุการผู้บริหาร (R2R: Routine to Research). เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2561, จาก www.op.mahidol.ac.th

4. นภัสวรรณ เกียรติวุฒิกาญจน์ และสําเริง อ่อนสัมพันธุ์. (2555). สมรรถนะที่พึงประสงค์ของเลขานุการผู้บริหารระดับสูงมหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตกาญจนบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากรม, 2(1), 90 – 99.

5. นลินี อธิมา. (2554). สมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานเลขานุการผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

6. ประภาภรณ์ พนัสพรประสิทธิ์. (2554). Smart Secretary เลขานุการยุคใหม่กับบทบาทู้ช่วยผู้บริหาร. ใน เอกสารประกอบการสัมมนา. กรุงเทพฯ: บริษัทไฮโพ เทรนนิ่ง แอนด์ คอนเซ้าท์แทนซี่ จำกัด.

7. พรไพรสน เพชรอําไพ. (2557). สมรรถนะของเลขานุการผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. SDU Res. J, 10(2), 41-53.

8. พสิษฐา จันทรวงศ์. (2551). คุณลักษณะที่พีงประสงค์ของเลขานุการระดับกอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

9. สาโรช ไสยสมบัติ. (2543). ความพึงพอใจในการทํางานของอาจารย์โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

10. สิรจิตต์ เดชอมรชัย. (2558). คุณลักษณะที่พึงประสงค์และการเตรียมความพร้อมบัณฑิตสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส สําหรับงานด้านเลขานุการ. วารสารสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ, 129(1), 68-80

11. สุมาลี นิกรแสน. (2554). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะของเลขานุการที่นายจ้างต้องการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย