สูตร T-formula สำหรับประเมินความรุนแรงของโรคหลอดเลือดเกินในเด็กแรกเกิด

ผู้แต่ง

  • อุเทน บุญมี
  • ปริมพัชร์ ไวทยวงศ์สกุล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2019.3

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดเกิน, การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ, เด็กแรกเกิด

บทคัดย่อ

          การประเมินภาวะหลอดเลือดเกิน (Patent ductus arteriosus; PDA)  ด้วยการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiography)  ยังไม่มีสูตรเฉพาะ มีเพียงวิธีการเดิมที่ใช้การวัดขนาดของ PDA เทียบกับขนาดของลิ้นหัวใจเอออติก บ้างก็ใช้การวัดขนาดของ PDA ร่วมกับการสังเกตขนาดของหัวใจห้องบนซ้าย (Left Atrium; LA)   แต่บ่อยครั้งที่ค่าขนาด PDA กับ LA ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันทำให้ยากต่อการแปลผลและประเมิน ซึ่งหากตัดหรือแยกประเมินก็อาจเกิดความไม่ครอบคลุมในพารามิเตอร์ที่สำคัญ จึงได้สร้างสูตรใหม่ที่ครอบคลุมพารามิเตอร์และสะดวกต่อการแปลผล คือ สูตร  T-formula = (PDA sizemm + LA/Ao ratio) / LVOTmm  ภายใต้การวิจัยแบบ Descriptive study เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสูตรใหม่เทียบกับวิธีการเดิมด้วย Spearman ’s correlation หาค่าความไวและความจำเพาะสำหรับกำหนดจุดตัด (Cutpoint) และสร้างตารางเทียบค่าระดับความรุนแรง เมื่อทบทวนค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นย้อนหลังจากฐานข้อมูลผลตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ ช่วงปี พ.ศ. 2559 - 2560 ในประชากรตัวอย่างเด็กแรกเกิดชาวไทยที่ไม่มีโรคหัวใจชนิดอื่นร่วม จำนวน 32 ราย อายุ 2.7+1.9 วัน คำนวณค่า T-formula เทียบกับการคำนวณตามหลักการของวิธีการตรวจเดิม พบว่า T-formula มีความสัมพันธ์กับการตรวจเดิมในระดับมากที่สุด   (rs=0.97) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.01) และที่ระดับ T-formula 0.75 จะให้ค่าความไวและความจำเพาะสูงที่สุดเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์  จึงถือเป็นจุด Cutpoint ที่บ่งชี้ถึงภาวะ PDA ที่ต้องได้รับการรักษา โดยเด็กแรกเกิดทั่วไปที่ไม่มีภาวะ PDA จะมีค่า T-formula 0.20 - 0.30 ด้วยค่าความสัมพันธ์ในระดับสูงมากและมีค่า Cutpoint ชัดเจน ทั้งยังมีตารางเทียบระดับความรุนแรงที่สามารถแปลผลตัวเลขแล้วระบุระดับเป็น ปกติ น้อย ปานกลาง มากได้ ทำให้สูตร T-formula  มีความสะดวกและมีประโยชน์สำหรับเลือกนำไปใช้ในทางคลินิก 

References

1. Abadir, S., Boudjemline, Y., Rey, C., Petit, J., Sassolas, F., Acar, P., . . . Chantepie, A. (2009). Significant persistent ductus arteriosus in infants less or equal to 6 kg: percutaneous closure or surgery? Archives of cardiovascular diseases, 102(6-7), 533-540.

2. Alagarsamy, S., Chhabra, M., Gudavalli, M., Nadroo, A. M., Sutija, V. G., & Yugrakh, D. (2005). Comparison of clinical criteria with echocardiographic findings in diagnosing PDA in preterm infants. Journal of perinatal medicine, 33(2), 161-164.

3. Arlettaz, R. (2017). Echocardiographic evaluation of patent ductus arteriosus in preterm infants. Frontiers in pediatrics, 5, 147.

4. Buchanan, J. W. (2001). Patent ductus arteriousus morphology, pathogenesis, types and treatment. Journal of Veterinary Cardiology, 3(1), 7-16.

5. Iwashima, S., & Ishikawa, T. (2014). Quantitative, noninvasive assessment of patent ductus arteriosus shunt flow by measuring proximal isovelocity surface area on color Doppler imaging. Circulation Journal, CJ-14-0229.

6. Khositseth, A., & Wanitkun, S. (2012). Patent ductus arteriosus associated with pulmonary hypertension and desaturation. Cardiology journal, 19(5), 543-546.

7. Lai, W. W., Geva, T., Shirali, G. S., Frommelt, P. C., Humes, R. A., Brook, M. M., . . . Rychik, J. (2006). Guidelines and standards for performance of a pediatric echocardiogram: a report from the Task Force of the Pediatric Council of the American Society of Echocardiography. Journal of the American Society of Echocardiography, 19(12), 1413-1430.

8. Lester, L. A., Vitullo, D., Sodt, P., Hutcheon, N., & Arcilla, R. (1979). An evaluation of the left atrial/aortic root ratio in children with ventricular septal defect. Circulation, 60(2), 364-372.

9. Schwarz, C. E., Preusche, A., Baden, W., Poets, C. F., & Franz, A. R. (2016). Repeatability of echocardiographic parameters to evaluate the hemodynamic relevance of patent ductus arteriosus in preterm infants: a prospective observational study. BMC pediatrics, 16(1), 18.

10. Silverman, N. H., Lewis, A. B., Heymann, M. A., & Rudolph, A. M. (1974). Echocardiographic assessment of ductus arteriosus shunt in premature infants. Circulation, 50(4), 821-825.

11. Slaughter, J. L., Reagan, P. B., Newman, T. B., & Klebanoff, M. A. (2017). Comparative effectiveness of nonsteroidal anti-inflammatory drug treatment vs no treatment for patent ductus arteriosus in preterm infants. JAMA pediatrics, 171(3), e164354-e164354.

12. Toyoshima, K., Masutani, S., Senzaki, H., Kawataki, M., & Itani, Y. (2014). Left atrial volume is superior to the ratio of the left atrium to aorta diameter for assessment of the severity of patent ductus arteriosus in extremely low birth weight infants. Circulation Journal, 78(7), 1701-1709.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย