การพัฒนาระบบจองเวลาใช้เครื่องมือห้องปฏิบัติการทันตวัสดุ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผู้แต่ง

  • จรรยา ชื่นอารมณ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2019.15

คำสำคัญ:

ระบบจองเวลาห้องปฏิบัติการ, เครื่องมือวิทยาศาสตร์, การจองเวลาแบบออนไลน์

บทคัดย่อ

          ห้องปฏิบัติการทันตวัสดุ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ให้บริการมากกว่า 20 เครื่อง ระบบจองเวลาใช้เครื่องมือแบบเดิม ผู้ใช้บริการต้องมาลงสมุดจองเวลาที่ห้องปฏิบัติการ ซึ่งไม่สะดวกและเสียเวลา จึงได้ศึกษาการนำโปรแกรมประยุกต์ของ Google คือ Form, Sheet และ Calendar มาออกแบบระบบจองเวลาใช้เครื่องมือแบบปฏิทิน เบื้องต้นพบว่า Google ไม่มีฟังก์ชั่นสำหรับส่งข้อมูลจาก Sheet ไปยัง Calendar จึงได้ศึกษาโปรแกรมประเภทอื่นเพิ่มเติม พบว่า Zapier integration application เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถส่งข้อมูลจาก Google Sheet ไปยัง Google Calendar ได้ ทำให้สามารถพัฒนาระบบจองเวลาให้แสดงผลในรูปปฏิทินได้  มีขั้นตอนการทำงาน คือ เมื่อผู้ใช้บริการกรอกแบบฟอร์มขอใช้เครื่องมือใน Google Form ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ Google Sheet จากนั้นโปรแกรม Zapier integration จะทำหน้าที่ส่งข้อมูลการจอง ไปไว้ที่ปฏิทิน Google Calendar เมื่อนำโค้ดปฏิทินนี้ไปฝังไว้ในเว็บไซต์ของห้องปฏิบัติการทันตวัสดุ ข้อมูลการจองใช้เครื่องมือผ่านการกรอกแบบฟอร์มออนไลน์จะแสดงผลในปฏิทินของห้องปฏิบัติการภายใน 15 นาที ช่วยอำนวยความสะดวกให้ทั้งผู้ใช้บริการและเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการในการบริหารจัดการเวลาและการทำงาน สามารถรวบรวมข้อมูลทางสถิติของการใช้เครื่องมือเพื่อบริหารจัดการครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ได้ถูกต้อง สะดวกและรวดเร็ว

References

1. เจนจิรา แจ่มศิริ, คัชรินทร์ ทองฟัก. (2561). การพัฒนาระบบการจองห้องประชุมออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก. (การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 18 และลำปางวิจัย ครั้งที่ 4).

2. เพ็ญพักตร แกล้วทนงค์, พรเพ็ญ จันทรา, ภัทราภรณ์ เพ็ชรจำรัส. (2561). การประยุกต์ใช้ Google Application เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. วารสารสาระคาม, 9(2), 41-56.

3. มนัสนนท์ โสรัตน์. (2561). การพัฒนาระบบการจองเวลาออกรอบสนามกอล์ฟบนเว็บ. (สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

4. มุกดา โควหกุล. (2561). ทัศนคติและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการระบบพร้อมเพย์. เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์, 14(2), 109-131.

5. วัฒนพล ชุมเพชร, ภูริณัฐ หนูขุน, คุณัชญ์ เตียวนะ. (2561). การพัฒนาระบบเช็คชื่อเพื่อการติดตามพฤติกรรมการเข้าเรียนของนักศึกษา แบบมีส่วนร่วมผ่านระบบออนไลน์. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(1), 185-192.

6. สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 2559. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2562 , จาก https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-profile-2016-th.html

7. อนวัช กาทอง. (2553). ระบบการจองห้องประชุม : กรณีศึกษา สํานักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (การประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 1).

8. อ้อยใจ โคตรหนองปิง, พนิดา บุญเรือง, มิตรภาพ พานทอง, เทพยุดา วงศ์วิรติ, ศิริภชฎ์ แปงสุทะ, ธเนศ เสริมศิริทรัพย์. (2561). ประเมินความพึงพอใจการจองห้องประชุมผ่านการใช้โปรแกรมออนไลน์ ศูนย์ฝึกอบรมสถาบันบําราศนราดูร. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2562 , จาก http://bamras.ddc.moph.go.th/bamras_training/pdf/CQI_training_center.pdf

9. อูเด้ห์ บัตนาร์เกอร์. (2561). การวิเคราะห์ผลกระทบต่อการตัดสินใจในการจองโรงแรมของนักท่องเที่ยวจากนิวเดลี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(1), 30-49.

10. Ansong, E., & Boateng, R. (2019). Surviving in the digital era – business models of digital enterprises in a developing economy. Digital Policy, Regulation and Governance, 21(2), 164-178.

11. Baskaran, K. (2019). The impact of digital transformation in Singapore e-tail market. International Journal of Innovative Technology and Exploring Engineering, 8(11), 2320-2324.

12. Polites, G.L., Williams, C.K., Karahanna, E., & Seligman, L. (2012). A Theoretical Framework for Consumer E-Satisfaction and Site Stickiness: An Evaluation in the Context of Online Hotel Reservations. Journal of Organizational Computing and Electronic Commerce, 22(1), 1-37.

13. Tao, M., Nawaz, M.Z., Nawaz, S., Butt, A.H., & Ahmad, H. (2018). Users’ acceptance of innovative mobile hotel booking trends: UK vs. PRC. Information Technology & Tourism, 20(1), 9–36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย