การศึกษาภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดและอาการปวดบริเวณแผลในผู้ป่วย หลังการสวนหัวใจ ระหว่างการใส่สายสวนหัวใจที่หลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ กับหลอดเลือดแดงบริเวณข้อมือ หอผู้ป่วยหลังทำหัตถการหัวใจ โรงพยาบาลรามาธิบดี
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2019.13คำสำคัญ:
ภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือด, การสวนหัวใจผ่านหลอดเลือดแดง, อาการปวดบริเวณแผลบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดและอาการปวดแผลในผู้ป่วยหลังการสวนหัวใจ ระหว่างการใส่สายสวนหัวใจที่หลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบกับหลอดเลือดแดงบริเวณข้อมือ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยหลังการสวนหัวใจ ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหลังทำหัตถการหัวใจ โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 284 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูล แบบประเมินผู้ป่วยหลังทำหัตถการใส่สายสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดง และแบบสอบถามความปวดแผลภายหลังการใส่สายสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดง ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใส่สายสวนหัวใจส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 66.42 ปี กลุ่มตัวอย่างที่ใส่สายสวนหัวใจทางหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือด 23 ราย พบมีก้อนเลือดใต้ผิวหนังชั้นลึก (hematoma) จำนวน 10 ราย มีจ้ำเลือด (ecchymosis) จำนวน 9 ราย และพบว่ามีแผลเลือดออก (bleeding) จำนวน 4 รายและกลุ่มตัวอย่างที่ใส่สายสวนหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงบริเวณข้อมือเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือด 3 ราย พบมีก้อนเลือดใต้ผิวหนังชั้นลึก จำนวน 1 ราย มีจ้ำเลือดจำนวน 1 ราย และมีแผลเลือดออกจำนวน 1 ราย สำหรับความปวดแผลภายหลังการใส่สายสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดงพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่ใส่สายสวนหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงไม่มีอาการปวดแผล ในกลุ่มที่มีอาการปวดแผลพบอาการปวดบริเวณแผลขาหนีบจำนวน 12 ราย ปวดแผลบริเวณข้อมือ จำนวน 2 ราย
สรุปจากผลการวิจัยได้ว่า การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดและอาการปวดแผลภายหลังการใส่สายสวนหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบหรือบริเวณข้อมือเป็นสิ่งที่พบได้ ทั้งระดับรุนแรงน้อยไปจนถึงระดับรุนแรงมาก โดยในกลุ่มตัวอย่างที่ใส่สายสวนหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบพบภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดในสัดส่วนที่มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใส่สายสวนหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงบริเวณข้อมือ ดังนั้นพยาบาลควรมีการประเมินภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดและอาการปวดแผลตั้งแต่ระยะแรก รวมถึงมีการจัดการได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที จะช่วยป้องกันหรือลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนลงได้
References
2. สรณ บุญใบชัยพฤกษ์.(2557).ซ่อมหัวใจชำรุด เมื่อหลอดเลือดหัวใจมีตะกรันตีบตัน, สืบค้นเมื่อ29 มิถุนายน 2561. จาก,http://med.mahidol.ac.th/ramachannel/old/index.php/knowforhealth-20140829-7/l
3. แสงเดือน กันทะขู้, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, และฉัตรกนก ทุมวิภาต. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน.วารสารพยาบาลศาสตร์, 27(2), 83-91.
4. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559). รายงานประจำปี 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.
5. อภิชาต สุคนธสรรพ์. (2553). Coronary arterydisease: The new frontiers. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์.
6. Andersen, K., Bregendahl, M., Kaestel, H., Skriver, M., & Ravkilde, J. (2005). Haematoma after coronary angiography and percutaneous coronary intervention via the femoral artery frequency and risk factors. European Journal of Cardiovascular Nursing, 4, 123-127.
7. Applegate, R. J., Sacrinty, M. T., Kutcher, M. A., Kahl, F. R., Gandhi, S .K., Santos, R. M. and Little, W. C. (2008). Trends in vascular complications after diagnostic cardiac catheterization and percutaneous coronary intervention via the femoral artery, 1998 to 2007.
8. JACC. Cardiovascular Interventions, 1 (3), 317– 326.
9. Baim, D. S. (2006). Percutaneous balloon angioplasty and general coronary intervention. In H. L.
10. D. S. Baim (Eds.), Grossman’s cardiac catheterization, angiography and intervention (6th ed., pp. 433-463). Philadelphia: Lippincott Williums & Wilkins.
11. Chiu, J. H., Bahtt, D. L., Ziada, K. M., Chew, D. P., Whitlow, P. L., Lincoff, A.M., et al. (2004). Impact of female sex on outcome after percutaneous coronary intervention [Electronic version]. American Heart Journal, 148(6), 998-1002.
12. Jolly, S.S., Amlani, S., Hamon, M., Yusuf, S. And Mehta, S.R. (2009). Radial versus femoral access for coronary angiography or intervention and the impact on major bleeding and ischemic events: A systematic review and meta-analysis of randomized trials. American Heart Journal, 157(1), 132–40.
13. Kinnaird T., Anderson R., Hill J., Thomas M., (2009). Bleeding during percutaneous intervention: tailoring the approach to minimise risk, Heart, 95(1), 15-19.
14. Shaffer, R. (2006). Groin hematoma following percutaneous coronary intervention, Nursing 2006, 36(12), 80.
15. Smith, S. C., Feldman, T. E., Hirshfeld, J. W., Jacobs, A. K., Kern, M. J., King, S. B., et Al. (2005). ACC/AHA/SCAI 2005 Guideline update for Percutaneous Coronary Intervention. Circulation, 117, 261-295.
16. Sulzbach-Hoke, L. M., Ratcliffe, S. J., Kimmel, S. E., Kolansky, D. M. and Polomano, R. (2010). Predictors of complications following sheath removal with percutaneous coronary intervention. Journal of Cardiovascular Nursing, 25, 1-8.
17. Vaught, K. B. & Ostrow, C. L. (2001). Bed rest after percutaneous transluminal coronary angioplasty: How much is enough? [Electronic version]. Dimension of Critical CareNursing, 20(4), 46-50.