ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ของผู้รับบริการในคลินิกวัยใส โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การตั้งครรภ์ไม่พร้อม, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของผู้รับบริการในคลินิกวัยใส โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้รับบริการเพศหญิงที่มารับบริการคุมกำเนิดทุกประเภท ในคลินิกวัยใส โรงพยาบาลร้อยเอ็ด อายุมากกว่า 18 ปี หรือหากต่ำกว่า 18 ปี ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ดำเนินการระหว่าง เดือน มิถุนายน 2567 – เดือน ตุลาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบวัดพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา Paired sample t-test และ Independent t- test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)
ผลการวิจัย : หลังการทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม หลังการทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)
สรุปและข้อเสนอแนะ : โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพดีมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังส่งผลให้มีพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมดีขึ้น จึงควรขยายผลการดำเนินการวิจัยในผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ ที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ผู้ป่วยติดสารเสพติด หรือติดสุรา เพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรม
References
สำนักอนามัยการเจริญพันธ์ กรมอนามัย. สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธ์ [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://rh.anamai.moph.go.th/th/cms-of-1
สมดี อนันต์ปฏิเวธ, สุหรี หนุ่งอาหลี, ปรียะดา ภัทรสัจจธรรม. วัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พร้อม : ผลกระทบแนวโน้มและการช่วยเหลือในสังคมโลกไร้พรมแดน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2561;11(1):16-31.
สำนักอนามัยการเจริญพันธ์ กรมอนามัย. สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://rh.anamai.moph.go.th/th/adolescent-mothers-birth-statistics/4729#wow-book/
Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International. 2000;15(3):259–67.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพคนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพฯ; 2556.
วิเชียร เกตุสิงห์. ค่าเฉลี่ยกับการแบ่งความหมาย: เรื่องง่ายๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้. ข่าวสารการวิจัยการศึกษา; 2538.
นุสรัน เฮาะมะ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรสำหรับนักศึกษาผู้หญิง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา; 2561.
จงรัก สุวรรณรัตน์, กรฐณธัช ปัญญาใส. ประสิทธิภาพของความรอบรู้ ด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นหญิง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ. 2560;5(1):60-71.
ธนิดา ผาติเสนะ, จิรารัตน์ วิเศษสัตย์, ธิดาพร งวดชัย, อัจฉราพรรณ ไทยภักดี. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักศึกษาหญิงระดับอุดมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์. 2565;20(1):71-81.
ปริยานุช ตั้งนรกุล, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์, นฤมล ธีระรังสิกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรูด้านสุขภาพทางเพศกับพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารแพทย์นาวี. 2562;46(3):607-20.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-12-02 (2)
- 2024-12-02 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง