การประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
การประเมิน, ผลการดำเนินงาน, แผนยุทธศาสตร์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร และศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะจากการดำเนินการ
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบประเมินผล
วัสดุและวิธีวิจัย : ประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ใช้แบบจำลองการประเมินผล CIPP Model กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานด้านนโยบายและแผนของหน่วยงาน ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร จำนวน
76 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามความคิดเห็น และแบบรายงานการประเมินผลการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย : ผลการวิจัย พบว่า การประเมินผลด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ อยู่ในระดับปานกลาง และการประเมินผลด้านผลผลิต พบว่าตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 84.09 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ คือบุคลากรขาดการมีส่วนร่วม บุคลากรไม่เพียงพอ และงบประมาณไม่เพียงพอ จึงควรมีการเปิดโอกาสให้บุคลากรเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน รวมถึงสนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอ และจัดสรรบุคลากรเพิ่มขึ้น
สรุปและข้อเสนอแนะ : ควรมีการวิจัยแบบต่อเนื่องเพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงาน และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ สำหรับเป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
References
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2567 [อินเทอร์เน็ต]. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 141 ตอนที่ 12 ก (ลงวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2567). [เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม2567]. เข้าถึงได้จาก: https://stopcorruption.moph.go.th/application/editors/userfiles/files/no_9%20%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%20(%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88).pdf
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. แผนปฏิบัติการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สกลนคร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร; 2566.
รติวัน พิสัยพันธ์, ศิวพร เลยวานิชย์เจริญ. การพัฒนารูปแบบการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดหนองคาย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2567;31(1):122-33.
เอกรินทร์ อ่วมอุ่ม, ภคพร กลิ่นหอม. การประเมินผลการดําเนินงานตามนโยบายตัวชี้วัดคํารับรองการปฏิบัติราชการ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข. 2565;2(1):28-46.
ทรรศวิช คำเจริญ, วรางคณา จันทร์คง, สมโภช รติโอฬาร. การประเมินผลระบบบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ หน่วยงานสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563;13(1):368-79.
Best J W. Research in Education. New Jersey: Prentice – Hall; 1891.
พงศธร โตสังวาล, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2566;29(3):37-55.
กนกวรรณ แก้วดี. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานตามแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โรงพยาบาลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2565.
นันทพัทธ์ ธีระวัฒนานนท์. การประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2563;6(1):90-107.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง