ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้สุขศึกษาต่อความรู้และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรก โรงพยาบาลหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ละออง บุตรศาสตร์ โรงพยาบาลหนองพอก

คำสำคัญ:

โปรแกรมการให้สุขศึกษา, หญิงตั้งครรภ์ครั้งแรก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ และคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการให้สุขศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรก 

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) เปรียบเทียบกลุ่มเดียววัดผลก่อน-หลัง (One group pretest – posttest design)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรก ที่มารับบริการที่ห้องตรวจอัลตร้าซาวด์   ที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหนองพอก เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่ายตามเกณฑ์การคัดเข้าคัดออก จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้และแบบสอบถามการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ จัดกิจกรรมการให้สุขศึกษา 5 ครั้ง การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือและวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น ด้วยวิธีครอนบาค (Cronbach’s  Alpha Coefficient) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ได้ผลการวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบความรู้ (KR-20) และด้านการปฏิบัติ เท่ากับ 0.79 และ 0.72  ตามลำดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน Paired t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence interval 

ผลการวิจัย : หลังเข้าร่วมโปรแกรมการให้สุขศึกษากลุ่มหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรกมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์มากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้น 2.80 คะแนน (95% CI; 1.94,3.67); คะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการตั้งครรภ์มากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.020) โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้น 1.37 คะแนน (95% CI; 0.23, 2.50) และมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับมาก (Mean=2.79, SD.=0.28)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่าโปรแกรมการให้สุขศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรก  ส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยความรู้และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น ดังนั้นควรนำโปรแกรมการให้สุขศึกษานี้ไปปรับใช้ในหญิงตั้งครรภ์กลุ่มอื่นต่อไป

References

ธิติพร สุวรรณอำภา, ทัศนีย์วรรณ พฤกษาเมธานันท์. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้โดยใช้โมบายแอปพลิเคชันต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์. วารสารสภาการพยาบาล. 2566;38(1):98-111.

กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการกรมอนามัย [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 26 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://planning anamaimoph.go.th

ชฎารัตน์ เหลืองอร่าม, สุกัญญา ศรีเจริญ, สุภาพร ผาจอง. รายงานการทบทวนวรรณกรรม เรื่อง การตั้งครรภ์ [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 26 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://apps.hpc.go.th

Pobpad. ท้องแรกดูแลสุขภาพครรภ์อย่างไรให้ลูกน้อยแข็งแรง [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 26 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pobpad.com

เครือวัลย์ พลาชัยภิรมย์, อรพนิต ภูวงษ์ไกร, ภริญพัทธ์ สายทอง. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุน การคลอดก่อนกำหนดและการกลับมารักษาซ้ำในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลกุมภวาปี. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2567;9(1):605-16.

อมรรัตน์ ผาละศรี, รัตนเพ็ญพร ศิริวัลลภ, อนุชา พรมกันยา. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้โดยใช้ตัวแบบหุ่นจำลองคลำการหดรัดตัวของมดลูกต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและทักษะสังเกตการหดรัดตัวของมดลูกของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2566;16(1):220-33.

ธีราภรณ์ บุณยประภาพันธ์, ศิริวรรณ แสงอินทร์, สุพิศ ศิริอรุณรัตน์. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับฮีมาโตคริตในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรภา. 2561;26(4):40-50.

รุจา แก้วเมืองฝาง, จักรีรัช ราชบุรี. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายต่อพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์. วารสารการแพทย์เขต 4-5. 2564;41(2):209–19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-30