การพัฒนารูปแบบการจัดการและเฝ้าระวังการเกิดพิษต่อไตจากการใช้ยา Tenofovir disoproxil fumarate (TDF) ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลหนองพอก
คำสำคัญ:
ยา Tenofovir disoproxil fumarate (TDF), พิษต่อไต, ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ พัฒนารูปแบบและทดลองใช้และประเมินรูปแบบการจัดการและเฝ้าระวังการเกิดพิษต่อไตจากการใช้ยา TDF
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
วัสดุและวิธีการวิจัย : การวิจัยแบ่งเป็นระยะที่ 1 เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไตในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยา TDF ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนมีนาคม 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลแบบสอบถาม และรูปแบบการจัดการและเฝ้าระวังการเกิดพิษต่อไตจากการใช้ยา TDF ที่พัฒนาขึ้นร่วมกับตารางปรับขนาดยา ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการและเฝ้าระวังการเกิดพิษต่อไตจากการใช้ยา TDF ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบ และระยะที่ 4 ศึกษาผลการใช้รูปแบบ ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนเมษายน – เดือนกันยายน 2567 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาณ ได้แก่ McNemar Test
ผลการวิจัย : พบอุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไตในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จำนวน 3 ราย เป็น DRPs ความรุนแรงระดับ C ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 พบเพิ่มขึ้นเป็น จำนวน 4 ราย ระดับ D จำนวน 1 ราย และระดับ E จำนวน 3 รายและในปีงบประมาณ พ.ศ.2567 (ตุลาคม 2566 -มีนาคม 2567) พบผู้ป่วยเกิดพิษต่อไตเพิ่มขึ้นเป็น จำนวน 5 ราย ระดับ C จำนวน 2 ราย ระดับ D จำนวน 2 ราย และระดับ E จำนวน 1 ราย ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าอุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และจากความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพได้พัฒนารูปแบบการจัดการและเฝ้าระวังการเกิดพิษต่อไตจากการใช้ยา TDF ได้ เป็น 5 ขั้นตอน คือ (1) การประเมิน EGFR (2) พบแพทย์ (3) ปรับขนาดยาตามตาราง (4) นัดติดตามภายใน 2-4 สัปดาห์ และ (5) การบริบาลทางเภสัชกรรม และหลังการใช้รูปแบบพบว่า ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาในด้านความคลาดเคลื่อนทางยาลดลงจากร้อยละ 11.6 เป็น 3.7 (p<.05) และไม่พบอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตระดับรุนแรง และผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยพบว่ามีความพึงพอใจในภาพรวมทุกด้านในระดับมาก (Mean=4.51 และ 4.26)
สรุปและข้อเสนอแนะ : รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีประโยชน์ต่อการทำงานของสหวิชาชีพและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการดูแลรักษาผู้ป่วย หากมีการทบทวนการใช้รูปแบบและสะท้อนปัญหาการใช้งาน ปรับปรุงข้อมูลและเครื่องมืออย่างสม่ำเสมอ จะทำให้สามารถป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดปัญหาจากการใช้ยาและสามารถปรับแผนการรักษาได้รวดเร็วทำให้ค่าการทำงานของไตของผู้ป่วยกลับเข้าสู่ค่าปกติได้
References
กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี 2564/2565 [อินเทอร์เน็ต]. นนท์บุรี: กรมควบคุมโรค; 2565 [เข้าถึงเมื่อวัน 25 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaiaidssociety.org/wp-content/uploads/2023/03/HIV-AIDS-Guideline-2564_2565_ED2.pdf
ทิวาพร ทองสุทธิ์. ประสิทธิภาพและความปลอดภัยทางคลินิกของ TAF ในการรักษาการติดเชื้อเอชไอวี.[อินเตอร์เน็ต]. นครศรีธรรมราช: สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 6 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=836
ศิริวัลย์ ศรีประทีปบัณฑิต. การพัฒนารูปแบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยในการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจากยา TDF ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลอุทัยธานี. วารสารเภสัชกรรมคลินิก. 2567;30(1):54-67.
Suzuki S, Nishijima T, Kawasaki Y, Kurosawa T , Mutoh Y, Kikuchi Y, et al. Effect of Tenofovir Disoproxil Fumarate on Incidence of Chronic Kidney Disease and Rate of Estimated Glomerular Filtration Rate Decrement in HIV-1–Infected Treatment-Naïve Asian Patients: Results from 12-Year Observational Cohort. AIDS Patient Care STDS. 2017;31(3):105-12.
Lee K H, Lee J U, Ku N S, Jeong S J, HanH S H, Choi J Y, et al. Change in Renal Function among HIV-Infected Koreans Receiving Tenofovir Disoproxil Fumarate-Backbone Antiretroviral Therapy: A 3-Year Follow-Up Study. Yonsei Med J. 2017;58(4):770-7.
Agbaji O O, Abah I O, Ebonyi A O, Gimba Z M, Abene E E, Gomerep S S, et al. Long Term Exposure to Tenofovir Disoproxil Fumarate-Containing Antiretroviral Therapy Is Associated with Renal Impairment in an African Cohort of HIV-Infected Adults. JIAPAC. 2019;18:1-9.
Nartey E T, Tetteh R A, Yankey B A, Mantel-Teeuwisse A K, Leufkens H G M, Dodoo A N O. Tenofovir-associated renal toxicity in a cohort of HIV infected patients in Ghana. BMC Res Notes. BMC Res Notes. 2019;12:445.
Patamatamkul S, Songumpai N, Payoong P, Katavetin P, Putcharoen O. Early switching of tenofovir disoproxil fumarate (TDF) in HIV-infected patients with TDF-inducednephrotoxicity: a prospective study. HIV Res Clin Pract. 2022;23(1):99-106.
เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, ศิริพร ชัมภลิขิต, ทัศนีย์ นะแส. การวิจัยทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: สำนักพิมพ์อัลลายด์ เพรส; 2535.
Brennan A, Evans D, Maskew M. Naicker S, Ive P, Sanne I. Relationship between Renal Dysfunction, Nephrotoxicity and Death among HIV Adults on Tenofovir. AIDS. 2011;25(13):1603–9.
นิยม สีสวนแก้ว, หทัยชนก พังศกฤตธิมน. การพัฒนาแนวทางในการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก TDF ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารเภสัชกรรมคลินิก. 2567;30(1):1-13.
กิตติกานต์ มัยวงศ์, วุธิพงศ์ ภักดีกุล, วรินท์มาศ เกษทองมา, บุญมี โพธิ์คำ. การวิเคราะห์เวลารอคอยรับยาและความพึงพอใจของผู้รับบริการต่องานบริการเภสัชกรรมแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีสงคราม. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2565;25(2):63-76.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-11-21 (3)
- 2024-11-21 (2)
- 2024-11-21 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง