This is an outdated version published on 2024-11-02. Read the most recent version.

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ชมัยพร เสียงสนั่น โรงพยาบาลเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม  การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเขาย้อย ซึ่งขึ้นทะเบียนรักษาในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 จำนวน 288 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับเหมาะสม (61.8%) (Mean=155.67, SD.=12.59) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ประกอบด้วย 5 ปัจจัยเรียงตามลำดับที่มีอิทธิพลจากมากไปน้อยดังนี้ 1) การรับรู้ความสามารถของตนเอง 2) อายุ 3) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ 4) เพศ และ 5) ความต่อเนื่องในการรักษา โดยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ (45.7%) (R2 = .457)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ควรพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย เช่น การให้ความรู้เป็นกลุ่มย่อย การถ่ายทอดทักษะและประสบการณ์ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยผู้ป่วยที่ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างและพัฒนาให้เกิดการรับรู้ความสามารถของตนเอง และมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างยั่งยืน

References

กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรครณรงค์วันเบาหวานโลก 2566 มุ่งเน้นให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และหากตรวจพบก่อนจะลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 9 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.phpnews=38403&deptcode=brc&news_views=2606#:text

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562–2563. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์; 2564.

กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรครณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2564 ตระหนักถึงการดูแลรักษาโรคเบาหวาน ให้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc

โรงพยาบาลเขาย้อย. รายงานผลการดำเนินงานคลินิกโรคเบาหวาน ประจำปีงบประมาณ 2566. เอกสารอัดสำเนา; 2567.

Orem D E. Nursing: Concepts of Practice (5th ed.). St. Louis: Mosby–Year Book; 1995.

Pender N J. Health Promotion in Nursing Practice. New York: Appleton Century–Crofts Norwalk; 1987.

Krejcie R V, Morgan D W. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas. 1970;30(3):607–10.

Bloom B S. Human characteristics and school learning. New York: Mc Graw–Hill; 1976.

อัจศรา ประเสริฐสิน. เครื่องมือการวิจัยทางการศึกษาและสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบ ทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2563.

Best J W, Kahn J V. Research in education. 3rd ed. New Jersey: Prentice–Hall; 1986.

บุญชัช เมฆแก้ว. รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาชุดช่วยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ (KR-20). พังงา: วิทยาลัยชุมชนพังงา; 2562.

Cronbach Lee J. Educational Psychology. New York: Harcourt Brace Jevanovich; 1977.

กุสุมา กังหลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15(3):256–68.

ปัทมา สุพรรณกุล. ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของพระสงฆ์ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2557;8(2):259–69.

ปัทมา สุพรรณกุล, สุทธิชัย ศิรินวล, เจษฎากร โนอินทร์, วิมาลา ชโยดม, อรพินท์ สิงหเดช. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2560;11(1):211–23.

จิรพรรณ ผิวนวล, ประทุม เนตรินทร์. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแก้วใน ตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2561;1(2):46–61.

ชาตรี แมตสี่, ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานในจังหวัดแพร่. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2564;13(1):238–250.

Bandura, Albert. Social learning theory. New Jersey: Prentice–Hall; 1977.

แสงดาว แจ้งสว่าง, สุพิศ ศิริอรุณรัตน์, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2563;28(3):79–89.

ธานี นามม่วง. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2566;9(1):170–80.

ปัทมา สุพรรณกุล, อาจินต์ สงทับ, อนุสรา สีหนาท, นพวรรณ วัชรพุทธ, เบญจมาภรณ์ นาคามดี, กู้เกียรติ ก้อนแก้ว และคนอื่นๆ. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2566;17(2):148–61.

James Birren. Handbook of Aging and Psychology. New York: Van Nostrand; 1989.

WHO. Health Promotion Glossary. Division of Health Promotion, Education and Communications, Health Education and Health Promotion Unit, World Health Organization Geneva:1–10; 1998.

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social Science and Medicine. 2008;67(12):2072–8.

นุจรีย์ ภู่ระย้า. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยสูงอายุ

โรคเบาหวานที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต. 2567;4(1):23–34.

ขวัญเรือน ก๋าวิตู, ชนิดา มัทวางกูร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่อาศัยอยู่ในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยสยาม. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 2562;20(38):82–95.

กาญจนา ปัญญาเพ็ชร์, นิภา มหารัชพงศ์, ยุวดี รอดจากภัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่สอง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2564;31(3):151–63.

นันทพร ศรีเมฆารัตน์, สิวาพร พานเมือง. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงตั้งครรภ์ที่มีเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 2566;8(1):1–11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-02

Versions