This is an outdated version published on 2024-10-29. Read the most recent version.

การพัฒนาระบบบริการการบำบัดพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยจิตเภท ที่มีประวัติใช้สารเสพติด โรงพยาบาลจังหารและเครือข่ายบริการ

ผู้แต่ง

  • สุวรรณา ขันทับ โรงพยาบาลจังหาร

บทคัดย่อ

วัตถุุประสงค์ : เพื่อศึกษาพัฒนารูปแบบ และประเมินผลของระบบบริการการบำบัดพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยจิตเภทที่มีประวัติใช้สารเสพติด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์ตามเกณฑ์ ICD 10 หรือ เกณฑ์ DSM-IV จำนวน 5 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษา (Compliance Therapy) แบ่งเป็น 3 ระยะ 5 ขั้นตอน ทำการบำบัดสัปดาห์ 1 ครั้งๆละ 45-60 นาที เป็นเวลา 5 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการบำบัด หลัง 1 เดือน และ 3 เดือน โดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ One-way Repeated Measures ANOVA กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการวิจัย : ก่อนใช้โปรแกรมบำบัด พบว่า ผู้ป่วยมีทัศนคติ ความคิด ความเชื่อที่ไม่สมเหตุผล และหยุดกินยา เพราะคิดว่าตนเองไม่ป่วย เบื่อหน่ายและมีผลข้างเคียงจากการกินยา ภายหลังบำบัด 1 เดือน และ 3 เดือน พบว่า ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงทางความคิด พฤติกรรมให้ความร่วมมือในการรักษาด้วยยา และมารับยาตามนัดในระยะติดตามผลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้พบว่าผู้ป่วยมีอาการทางจิตทุเลาลง มีพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษา และมีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัว ภายหลังการบำบัด 1 เดือน และ 3 เดือนดีขึ้นแตกต่างกันกับก่อนบำบัด

สรุปและข้อเสนอแนะ : โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนี้ ช่วยให้ผู้ป่วยไว้วางใจให้ความร่วมมือในบำบัด และปรับพฤติกรรมความร่วมมือในการกินยาได้  ดังนั้นพยาบาลและทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง สามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของอาการทางจิต ต่อไป

References

Boyd M A. Psychiatric nursing: contemporary practice. Philadelphia: Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins; 2008.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ. พยาบาลกับการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตเภท. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: คลังนานา วิทยา; 2549.

Amador X F, Anthony D S. Insight and Psychosis. Oxford: University Press; 1998.

Kemp, R., et al. Randomised controlled trial of compliance therapy. 18-month follow-up. British Journal Psychiatry 1998;172(12):413-19.

กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด. สถิติของผู้ป่วยจิตเวชที่มารับบริการที่ตึกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2563-2565). ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลจังหาร; 2565.

เพชรี คันธสายบัว. การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มผู้ป่วยจิตเภทที่ป่วยซ้ำ และไม่ป่วยซ้ำ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.

สรินทร เชี่ยวโสธร. ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยจิตเภทต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.

พรทิพย์ วชิรดิลก, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, วิโรจน์ วงษ์สุริยะเดช, บุญช่วย เทพยศ. ผลการการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวคิดการสร้างแรงจูงใจกับการปรับพฤติกรรมทางความคิด ต่อความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยจิตเภท. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2549.

เสวิกุล จำสนอง. พฤติกรรมการดูแลตนเองและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคจิตเภทที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

ดรุณี ภู่ขาว. การพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการบำบัดที่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยที่ใช้ในการบำบัดผู้ที่ประสบปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์ [วิทยานิพนธ์]. บูมิซีบีที ควีนส์แลนด์: มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์; 2545.

อมาวสี กลั่นสุวรรณ. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อพฤติกรรมร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงตนเองของผู้ป่วยเสพติดแอมเฟตามีนในสถานบำบัดรักษาแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี [วิทยานิพนธ์]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

อุมาพร กาญจนรักษ์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภท[วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2545.

ดำรงพล จันทร์สด. การส่งเสริมความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยจิตเวช โดยใช้แนวคิดการสร้างแรงจูงใจร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางความคิด [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-29

Versions