การพัฒนารูปแบบการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการอย่างสมเหตุผล โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • กุศลาสัย สุราอามาตย์ โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน

คำสำคัญ:

การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการอย่างสมเหตุผล, Underutilization, Overutilization

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการอย่างสมเหตุผลโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ตามแนวคิดของ Kemmis & McTaggart มาเป็นกรอบดําเนินงาน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Action) การสังเกตผลการดําเนินงาน (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ดำเนินการระหว่างเดือน กันยายน 2565 - เดือนตุลาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบบันทึกการสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติเพื่อลด Overutilization หรือ Underutilization ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย : พบว่า รูปแบบการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการอย่างสมเหตุผลโรงพยาบาล
จตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์และบริบท 3 ด้าน 2) จัดทำแผนปฏิบัติการ 3) แต่งตั้งคณะกรรมการ RLU 4) ประกาศนโยบายเพื่อลด Overutilization หรือ Underutilization 5) พัฒนาระบบ IT Support Pop up 6) การติดตาม นิเทศงาน และประเมินกิจกรรมลงหน้างานเชิงรุก 7) ประเมินผลลัพธ์หลังการพัฒนา 8) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 9) ถอดบทเรียน

สรุปและข้อเสนอแนะ : หลังการพัฒนาแพทย์มีความพึงพอใจต่อระบบ IT Support Pop up ในระดับสูงเพิ่มขึ้น การส่งตรวจ HbA1C ซ้ำลดลงถึง 33.19% ในขณะที่คุณภาพการรักษามีแนวโน้มดีขึ้น ซึ่งการดำเนินการตามแนวทางนี้จะช่วยลดการสั่งตรวจที่ไม่จำเป็นในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์อย่างเหมาะสม โดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจวิเคราะห์ที่ตรงจุดและคุ้มค่า และลดค่าใช้จ่ายในการตรวจที่ไม่จำเป็น

References

สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. แนวทางการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อย่างสมเหตุผล [อินเทอร์เน็ต]. 2566; [เข้าถึงเมื่อ 17 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://huthailand.com/

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. แนวทางการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อย่างสมเหตุผล (Rational Laboratory Use, RLU) [อินเทอร์เน็ต]. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 7 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.3.dmsc.moph.go.th/page-view/108.

โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน. รายงานการจัดซื้อ-จัดจ้างวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน; 2566.

ภาควิชาพยาธิวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. คู่มือการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ [อินเทอเน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 3 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th /th/manual/Project/request.html.

Kemmis S R, Mc Taggart. The Action Research Planner. (Victoria, Ed.) (3rded.). Australia: Deaken University Press; 1988.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-29 — Updated on 2024-10-29

Versions