ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส. ต่อความรู้ พฤติกรรม และระดับความดันโลหิต ในกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงเขตโรงพยาบาลหนองพอก อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
แนวทาง 3อ.2ส., ความรู้, พฤติกรรม, กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และค่าระดับความดันโลหิตก่อน และหลังการใช้โปรแกรม
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 40 คน ดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – เดือนกันยายน 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตัว และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.71 และ 0.80 ตามลำดับ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence Interval
ผลการวิจัย : หลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้น 5.50 คะแนน (95% CI; 3.38, 7.16) ; คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้น 37.28 คะแนน (95% CI; 34.69, 39.85) ; คะแนนเฉลี่ยความดันโลหิต Systolic น้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ยความดันโลหิต Systolic ลดลง 12.05 mmHg (95% CI; 9.57,16.32) ; คะแนนเฉลี่ยค่าความดันโลหิต Diastolic น้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยค่าความดันโลหิตลดลง 12.95 mmHg (95% CI; 9.57,16.32) และมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับมาก(Mean=2.84, SD.=0.30)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีผลลัพธ์เพิ่มขึ้นแต่ควรเพิ่มการกำกับติดตาม โดยออกเยี่ยมบ้านหรือติดตามผ่าน อสม. เพื่อกระตุ้นและเสริมแรงอย่างต่อเนื่อง
References
กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักงานโรคไม่ติดต่อ. รูปแบบการบริการป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560.
กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักงานโรคไม่ติดต่อ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.
กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค. กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. แนวทางการประเมินและจัดการ ความเสี่ยงทางสุขภาพแบบองค์รวม. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.
HDC dashboard จังหวัดร้อยเอ็ด [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 9 สิงหาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ret.hdc.moph.go.th/hdc/reports
ขนิษฐา สระทองพร้อม, สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ในประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;3(1):38-50.
อติญาณ์ ศรเกษตริน, รุ่งนภา จันทรา, รสติกร ขวัญชุม, ลัดดา เรืองด้วง. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส. ของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน (อสม.) ต.คลองฉนาก อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560;4(1):253 – 64.
Orem D E, Taylor S G, Renning K M. Nursing: Concepts of practice (6th ed.). St.Louis: Mosby; 2001.
จุฑามาศ แก้วจันดี, พัชราภรณ์ ไกรนรา, วีระชน หวังสวัสดิ์ ,นิชชนันท์ บุญสุข. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2566;19(1):12-5.
Gibbs B B, Reis J P, Schelbert E B, et al. Lifestyle factors and risk for hypertension among nonobese middle-aged adults. Hypertension. 2020;75(2):279-86.
Nguyen H T, Nakamura K, Seino K, et al. Peer support program on health knowledge, attitudes, and practices among hypertensive patients in rural Vietnam. Prev Med Rep. 2021;23:101481.
Jiang X, Zhang Y, Feng Y, et al. Effect of an integrated education and management intervention on health behavior change and blood pressure control in hypertensive patients. Am J Hypertens. 2021;34(6):563-72.
Whelton P K, Carey R M, Aronow WS, et al. 2022 ACC/AHA hypertension guidelines: A review of recommendations and strategies for blood pressure management. J Am Coll Cardiol. 2022;79(13):1296-330.
Fuchs F D, Whelton P K. High blood pressure and cardiovascular disease. Hypertension. 2021;77(3):760-71.
Hu D, Zhong J, Chu Y, et al. Economic burden of hypertension and its association with health behaviors in rural China. BMC Public Health. 2020;20:343.
Peterson J C, Seligman M E P. The psychology of hypertension: Positive psychology perspectives on treatment adherence. J Posit Psychol. 2021;16(5):614-22.
Tang T S, Nwankwo R, Whittaker R B. A community-based program for diabetes and hypertension self-management: Development, evaluation, and implications. Prev Chronic Dis. 2020;17:190-200.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-10-29 (2)
- 2024-10-29 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง