การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลางในเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การดูแลผู้ป่วย, ผู้ป่วยระยะกลาง, เครือข่ายบริการจังหวัดร้อยเอ็ดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาบริบท พัฒนารูปแบบ และประเมินผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลางในเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)
วัสดุและวิธีการศึกษา : กลุ่มเป้าหมายเป็นทีมสหวิชาชีพจากโรงพยาบาลในเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด 30 คน และผู้ป่วยระยะกลาง 934 คน ทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2563 - กันยายน 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ โปรแกรม Nemo care และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย Paired t-test
ผลการศึกษา : จังหวัดร้อยเอ็ดมีการดำเนินการจัดระบบบริการการดูแลระยะกลาง ครอบคลุมทุกพื้นที่ 20 อำเภอ โดยมีการดำเนินการแบบ Intermediate bed จำนวน 12 แห่ง และแบบหอผู้ป่วยใน Intermediate ward 6 แห่ง รูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลางในเครือข่ายบริการสุขภาพ จังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 1) การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care : IMC) จากโรงพยาบาลสู่ชุมชนของเครือข่ายสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด 2) พัฒนาคู่มือการการดูผู้ป่วยระยะกลาง และแนวทางการดูแลผู้ป่วย 3) พัฒนาหลักสูตรการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง 4) จัดประชุมทีมสารสนเทศโรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ดร่วมกันออกแบบวางแผนพัฒนาโปรแกรม ในการจัดเก็บข้อมูลและการเชื่อมต่อข้อมูลในโปรแกรม Nemo care ให้เป็นระบบและออกแบบระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ (Network Design) ในระดับโรงพยาบาลแม่ข่ายและโรงพยาบาลลูกข่าย และจากกระบวนการวิจัย ส่งผลให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้เพิ่มมากขึ้นและครอบคลุมผู้ป่วยทุกคน ผู้ป่วยได้รับการบริบาลฟื้นฟูสภาพระยะกลางและติดตามจนครบ 6 เดือนหรือค่า Barthel Index (BI)=20 ร้อยละ 55.25 ทำให้ระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบก่อนและหลังการพัฒนาฯ พบว่า หลังการพัฒนารูปแบบกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น มากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (Mean = 41.79, 95%CI = 35.06 – 48.53) และส่งผลให้คณะกรรมการมีระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 93.33
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีการดูแลผู้ป่วยระยะกลางเพิ่มขึ้น
References
Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner; 1988.
สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ. คู่มือการฟื้นฟูผู้ป่วย IMC. นนทบุรี: กรมการ แพทย์; 2561.
กองบริหารการสาธารณสุข. คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลาง. สมุทรสาคร: บอร์นทูบี พับลิชซิ่ง; 2562.
สำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุข. การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุราษฎร์ธานี; 2558.
สุกัญญา ยงสว่าง, ธนวรรณ สินประเสริฐ, ปราณี เตชรัตน์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองโรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2558;34(3):236-47.
พัชรฉัตร ภูมิสถาน. การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังส่วนอกและเอวหักกดทับไขสันหลังที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังและการดูแลต่อเนื่องในระยะกลาง : กรณีศึกษา.ชัยภูมิเวชสาร. 2563;40(1): 173-87.
ประธาน ศรีจุลฮาด. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองอำเภอร่องคำจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. 14(3)2564: 229-32.
Deutsch A, Granger C V, Heinemann A W, Fiedler R C, DeJong G, Kane R L, et al. Poststroke rehabilitation: outcomes and reimbursement of inpatient rehabilitation facilities and subacute rehabilitation programs. Stroke. 2006;37:1477-82.
American Academy of Physical Medicine and Rehabilitation and the American Society of Neurorehabilitation. Guidelines for adult stroke rehabilitation and recovery. Stroke. 2016;e2-72.
Khiaocharoen O, Pannarunothai S, Riewpaiboon W, Zungsontiporn C. Rehabilitation service development for sub-acute and non-acute patients under the universal coverage scheme in Thailand. Journal of Health Science. 2015;24(2):493-509.
นิอร สิริมงคลเลิศกุล, ฐานุตร์ ถมังรักษ์สัตว์, พบสุข ตัณสุหัช, วิทยศักดิ์ รุจิวรกุล, ชมพูนุท สิงห์มณี, สายพิน กัญชาญพิเศษ, และคนอื่นๆ. การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผ่านระบบมือถืออัจฉริยะ. เวชสารแพทย์ทหารบก. 2565;75(1):39-49.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-11-18 (2)
- 2024-10-26 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง