การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, รูปแบบการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, พยาบาลวิชาชีพบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และศึกษาผลลัพธ์รูปแบบการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลโพนทอง
รูปแบบการศึกษา : การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research)
วัสดุและวิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่าง เป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉิน ตึกอายุรกรรมหญิง อายุรกรรมชาย ทุกคนจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินทักษะในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 - เมษายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย : ทักษะการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และความรู้เกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอยู่ในระดับดีมาก การประเมินผลการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด พบว่า อัตราการได้รับยาละลายลิ่มเลือด ภายใน 30 นาที คิดเป็นร้อยละ 66.67 และอัตราการตายในโรงพยาบาลคิดเป็นร้อยละ 6.67
สรุปและข้อเสนอแนะ : สามารถนำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันไปใช้ในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง เพื่อเพิ่มผลลัพธ์และการบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ควรส่งเสริมพัฒนาศักยภาพพยาบาลวิชาชีพ ในทีมให้ได้รับการอบรมหลักสูตรเฉพาะทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพื่อพัฒนารูปแบบบริการอย่างต่อเนื่อง มีการเสริมแรง พัฒนาศักยภาพ สร้างความตระหนักแก่ทีมสหสาขาวิชาชีพและส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดโดยเฉพาะการป้องกันการเกิดโรคตั้งแต่ระดับครอบครัวและในชุมชน
References
กองโรคไม่ติดต่อ/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค. รณรงค์วันหัวใจโลก 2566 [อินเทอร์เน็ต]. กรมควบคุมโรค; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 28 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=37372&deptcode=brc
โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต. ผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ชนิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน (ST-segment elevation myocardial infarction, STEMI) [อินเทอร์เน็ต]; 2018 [12เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.phukethospital.com/th/clinical-outcome-heart-stemi/.
นิตยา ชนะกอก. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด STEMI โดยการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในโรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขลานนา. 2558;11(2)2;37-43.
Kemmis S, McTaggart R, Retallick J. The action research planner (2nd ed.). Revised. Aga Khan University, Institute for Educational Development, Karachi; 2004.
โรงพยาบาลโพนทอง. ร้อยเอ็ด. ข้อมูลสถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจประจำปี 2562-2567. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลโพนทอง; 2567.
วรรณิภา เสนุภัย, พนิดา เตชะโต, สิริพร ดำน้อย. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2562;11(3):104-19.
อรรถวุฒิ พรมรัตน์, กรรณพร บัวลีวรรณ. การพัฒนาแนวทางการดูแลและส่งต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (STEMI) โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2564;5(10):115-26.
สุรีย์ กรองทอง, ศศิธร กระจายกลาง, นงลักษณ์ สุรศร, สุนันญา พรมตวง. พัฒนารูปแบบบริการทางด่วนผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2561;33(1),45-60.
ดรุณี วินัยพานิช, พาณี วิรัชชกุล, จินดา ผุดผ่อง, ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์. การพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. วารสารกองการพยาบาล. 2559;43(2),101-26.
ศศิธร ช่างสุวรรณ์, จินต์จุฑา รอดพาล, ศรีสุรีย์ สูนยานนท์, สมทรง บุตรชีวัน. การพัฒนาระบบการพยาบาลระยะฉุกเฉินในผู้ป่วย STEMI งานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2561;8(3):372-84.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-10-27 (3)
- 2024-10-26 (2)
- 2024-10-26 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง