ประสิทธิผลของรูปแบบการดำเนินงานเพิ่มคนสุขภาพดี ในประชาชนวัยทำงาน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ปิยะลักษณ์ ภักดีสมัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
  • พิสมัย ศรีทำนา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
  • ศิริรัตน์ จ่ากุญชร ศิริรัตน์ จ่ากุญชร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, รูปแบบการดำเนินงาน, ดัชนีมวลกาย, รอบเอว, การวัดองค์ประกอบร่างกาย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการดำเนินงาน“เพิ่มคนสุขภาพดี” จังหวัดมหาสารคาม

รูปแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental)  

วัสดุและวิธีการวิจัย : การศึกษารูปแบบการดำเนินงาน “เพิ่มคนสุขภาพดี” ในกลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนกลุ่มวัยทำงาน จำนวน 1,559 คน โดยการคืนข้อมูลสุขภาพ ด้วยการวัดองค์ประกอบร่างกาย ประเมินความเสี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามความเสี่ยงรายบุคคลและประเมินผลหลังได้รับโปรแกรม 6 เดือน และเปรียบเทียบผลก่อนและหลังดำเนินการ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกสุขภาพ เครื่องวัดองค์ประกอบร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าสัดส่วนก่อนและหลังดำเนินการ ด้วยสถิติ McNemar test

ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่าง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามรูปแบบการดำเนินงานเพิ่มคนสุขภาพดี จำนวน 1,559 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.6 มีอายุในช่วง 50-59 ปี ร้อยละ 37.3 กลุ่มอาชีพส่วนใหญ่เป็นผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น ร้อยละ 41.5 ผลการเปรียบเทียบสภาวะสุขภาพ ก่อนและหลังการดำเนินการ พบว่า ดัชนีมวลกาย รอบเอว มวลกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในร่างกาย ก่อนและหลังดำเนินการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.001, p=.018, p <.001, p <.001 ตามลำดับ โดยดัชนีมวลกายปกติ ก่อนดำเนินการ ร้อยละ 35.8 หลังดำเนินการเพิ่มเป็น ร้อยละ 38.2 รอบเอวปกติ ก่อนดำเนินการ ร้อยละ 47.1 หลังดำเนินการเพิ่มเป็น ร้อยละ 48.8 มวลกล้ามเนื้อปกติ ร้อยละ 88.9 หลังดำเนินการเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 93.5 และระดับไขมันในร่างกาย ปกติ ร้อยละ 76.2 หลังดำเนินการ เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 78.1

สรุปและข้อเสนอแนะ : รูปแบบการดำเนินงานเพิ่มคนสุขภาพดี จังหวัดมหาสารคาม เป็นการกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามความเสี่ยงรายบุคคล ซึ่งใช้กระบวนการคืนข้อมูลรายบุคคล สร้างความรอบรู้ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพรายบุคคลที่เหมาะสม

References

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเทอร์เน็ต]. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. สถานการณ์ COVID-19 จังหวัดมหาสารคาม [Internet]. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://mkho.moph.go.th/covid2019/main/frontend/web/index.php/reportcovid

ปิยวัฒน์ เกตุวงศา. สถานการณ์โควิด-19 กับผลกระทบที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพด้านการมีกิจกรรมทางกายของคนไทย [อินเทอร์เน็ต]. กองบริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://op.mahidol.ac.th/ga/posttoday-2/.

Bourdas D I, Zacharakis E D. Impact of COVID-19 Lockdown on Physical Activity in a Sample of Greek Adults. Sports. 2020; 8(10):139.

Yamada M, Kimura Y, Ishiyama D, Otobe Y, Suzuki M, Koyama S, et al. Effect of the COVID-19 Epidemic on Physical Activity in Community-Dwelling Older Adults in Japan: A Cross-Sectional Online Survey. J Nutr Heal aging. 2020;24(9):948–50.

กรมอนามัย. กรมอนามัย เผย โควิด-19 ทำวัยเรียน – วัยทำงาน – ผู้สูงอายุ มีพฤติกรรมเนือยนิ่งเฉลี่ย 14 ชั่วโมงต่อวัน [อินเทอร์เน็ต]. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/141064/.

ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. REGENERATING Physical Activity in Thailand after COVID-19 Pandemic: ฟื้นกิจกรรมทางกายในประเทศไทยหลังวิกฤตโควิด-19. นนทบุรี: ภาพพิมพ์ จำกัด; 2563.

วาสนา ศรีสุข, ปรียา ลีฬหกลุ, จุฑารัตน์ ภัทรเกษวิทย์. ประสิทธิผลของโครงการลดน้ำหนักต่อดัชนีมวลกายและเนื้อเยื่อไขมันในร่างกายของผู้ที่มีน้ำหนักเกิน. Rama Med J. 2565;45(20);17-27.

ศุภชัย สามารถ. จุฬาภรณ์ โสตะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ความสามารถตนเองร่วมกับขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการลดน้ำหนักในกลุ่มวัยทำงานอายุ 40-49 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 2559;23(3):34–45.

ยลวรณัฏฐ์ จีรัชตกรณ์. เจษฎา สุวรรณวารี. การศึกษาโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อการมีสุขภาพที่ดีและส่งผลต่อความสุขในการทำงาน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในหน่วยงานสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2566;46(4):84-100.

ภัทรสิริ พจมานพงศ์. แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพโดยแบ่งตามลักษณะองค์ประกอบด้านร่างกายของผู้สูงอายุสมาชิกศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 2562;20(39).73-87.

อารยา เกษมสำราญกุล. ศกลณัฏร์ คณะบูรณ์. ภาวะสุขภาพก่อนการทดลองหลังการทดลองระยะติดตามโครงการ FIT FIGHT FOR FIRM ตามหลัก 3อ. ในบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 6. ศูนย์อนามัยที่ 6; 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-26