การพัฒนาและประเมินรูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนโดยใช้นวัตกรรม “ใบไม้ช่วยชีวิต” ในโรงพยาบาลธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • นารถวารินทร์ ชำนาญเอื้อ โรงพยาบาลธวัชบุรี
  • พัชนิดา ไชยชาติ โรงพยาบาลธวัชบุรี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่, การดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรค โดยการนำนวัตกรรม “ใบไม้ช่วยชีวิต”

รูปแบบการวิจัย : วิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มเป้าหมายจำแนกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะตรวจพบเชื้อรายใหม่ ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในคลินิกวัณโรค โรงพยาบาลธวัชบุรี กลุ่มที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบหลักด้านวัณโรคและกลุ่มที่ 3 เป็นทีมสหวิชาชีพที่ให้บริการผู้ป่วย รวม 55 คน ดำเนินการวิจัยตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2565 ถึง เดือนกันยายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย : รูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนโดยใช้นวัตกรรม “ใบไม้ช่วยชีวิต” ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินความรู้ผู้ป่วยและญาติก่อนขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรค 2) การให้ความรู้โดยใช้นวัตกรรม “ใบไม้ช่วยชีวิต” และ 3) ประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยหลังใช้นวัตกรรม “ใบไม้ช่วยชีวิต” หลังการพัฒนา พบว่า ผู้ป่วยวัณโรคมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการดูแลและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโดยรวมเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับดี (72.17%) จากเดิมที่อยู่ในระดับปานกลาง (58.50%) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับดี (95%) และพบว่า ผู้ให้บริการมีความพึงพอใจในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดโดยรวมอยู่ในระดับดี (100%)

สรุปและข้อเสนอแนะ : นวัตกรรมที่นำมาใช้ในวิจัยครั้งนี้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปปรับรูปแบบให้เหมาะสมและติดตามผลการดำเนินงานเพื่อแก้ไขและพัฒนาระบบต่อไป

References

World Health organization. Global tuberculosis report 2017. Geneva, Switzerland: WHO; 2017.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561 National Tuberculosis Control Program Guideline, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซด์; 2560.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์การควบคุมวัณโรคแห่งชาติเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิค แอนด์ดีไซน์; 2558.

ระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์รายบุคคลหรือโปรแกรมบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรค (Tuberculosis Case Management : TBCM 2010) หรือโปรแกรม TBCM online [Internet] [cited 2022 Dec 2]. Available from: https://ntip-ddc.moph.go.th/uiform/Manual.aspx

Division of Tuberculosis, Department of Disease Control Thailand. National Tuberculosis Information Program [Internet] [cited 2022 Dec 2]. Available from: https://ntip-ddc.moph.go.th/Downloads/UserManualNTIP19_10_20.pdf(inThai)

Deming in Mycoted. Plan Do Check Act (PDCA) (Online) [Internet] [cited 2022 Dec 2]. Available from: http://www.mycoted.com/creativity/techniques/pdca.php.

วัฒนา สว่างศรี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2562;16(3):116-29.

เฉลิมเกียรติ ตาตะมิ. การพัฒนารูปแบบในการป้องกันและควบคุมวัณโรค ในพื้นที่ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารสำนักงานควบคุมป้องกันโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2562;26(1):36-47.

อวินนท์ บัวประชุม. การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดอย่างมีส่วนร่วมในชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. 2559;34(3):54-60.

รุจิเรจ ล้อไป. การเสริมสร้างพลังภาคีเครือข่ายสุขภาพชุมชนในการพัฒนาความสำเร็จของการรักษาวัณโรค ในตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการ สคร. 9. 2560;24(1):15-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-26 — Updated on 2024-10-26

Versions