ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ความชุก, ภาวะสมองเสื่อม, ผู้สูงอายุ, ปัจจัยเสี่ยงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Study) โดยใช้การเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในชุมชน
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้สูงอายุอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 410 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคล แบบทดสอบสภาวะสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (TMSE) แบบประเมินการดำรงชีวิตในชุมชน (IADLs) แบบประเมินอาการทางจิต (NPI-Q) และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า (9Q) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย Chi-Square Test และ Fisher’s Exact Test
ผลการวิจัย : พบว่าความชุกของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุอยู่ที่ร้อยละ 21.71 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ กลุ่มอายุ ลักษณะครอบครัว การศึกษา กิจกรรมทางสังคม โรคประจำตัว การสูญเสียการมองเห็นและการได้ยิน รวมถึงการพึ่งพาผู้อื่น และอาการทางจิต
สรุปและข้อเสนอแนะ : การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนานโยบายและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคมและการดูแลสุขภาพจิต ควรมีการติดตามและดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2566.
Alzheimer’s Disease International. World Alzheimer Report 2013: Journey of Caring. London: Alzheimer’s Disease International; 2013.
กรมสุขภาพจิต. รายงานสถานการณ์ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2566.
วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. การป้องกันและจัดการภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2556;45(1):89-97.
สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. การศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ. วารสารสุขภาพและการพยาบาล. 2561;3(2):21-30.
Krejcie R V, Morgan D W. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas. 1970;30:607-10.
Librero F. Sampling and survey techniques. Manila: University of the Philippines Press; 1985.
กรมสุขภาพจิต. แนวทางการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
Lawton M P, Brody E M. Assessment of older people: self-maintaining and instrumental activities of daily living. Gerontologist. 1969;9(3):179-86.
Kaufer D I, Cummings J L, Ketchel P, Smith V, MacMillan A, Shelley T, et al. Validation of the NPI-Q, a brief clinical form of the neuropsychiatric inventory. J Neuropsychiatry Clin Neurosci. 2000;12(2):233-9.
กรมสุขภาพจิต. คู่มือการประเมินโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
กรมสุขภาพจิต. สถานการณ์ผู้สูงอายุและภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทย. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
ศิริเพ็ญ คงดี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความชุกของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบทของประเทศไทย. วารสารการพยาบาลชุมชน. 2561;45(2):123-34.
Wimo A, Jönsson L, Bond J, Prince M, Winblad B. The worldwide economic impact of dementia 2010-2030. Alzheimers Dement. 2017;13(1):1-7.
Livingston G, Sommerlad A, Orgeta V, Costafreda S G, Huntley J, Ames D, et al. Dementia prevention, intervention, and care. Lancet. 2017;390(10113):2673-734.
Prince M, Wimo A, Guerchet M, Ali G C, Wu Y T, Prina M. World Alzheimer Report 2015: The Global Impact of Dementia. Alzheimer’s Disease International; 2015.
Ferri C P, Prince M, Brayne C, Brodaty H, Fratiglioni L, Ganguli, M, et al. Global prevalence of dementia: a Delphi consensus study. Lancet. 2005;0366(9503):2112-7.
สุพัตรา พรหมรัตน์. การศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2559;12(1):45-56.
Jorm A F, Dear K B, Burgess N M. Projections of future numbers of dementia cases in Australia with and without prevention. Aust N Z J Psychiatry. 2005;39(11-12):959-63.
Lyketsos C G, Lopez O, Jones B, Fitzpatrick A L, Breitner J, DeKosky S. Prevalence of neuropsychiatric symptoms in dementia and mild cognitive impairment: results from the cardiovascular health study. JAMA. 2000;288(12):1475-83.
Stern Y. Cognitive reserve in ageing and Alzheimer’s disease. Lancet Neurol. 2012; 11(11):1006-12.
Scarmeas N, Stern Y, Mayeux R, Manly J J. Cognitive reserve and Alzheimer's disease. Alzheimers Dis Assoc Disord. 2011;25(3):225-9.
สุกิจ ประสานเนตร. ผลของระดับการศึกษาและความรู้ทางปัญญาต่อความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุไทย. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2560;5(2):123-34.
Shankar A, Hamer M, McMunn A, Steptoe A. Social isolation and loneliness: relationships with cognitive function during 4 years of follow-up in the English Longitudinal Study of Ageing. Psychosom Med. 2013;75(2):161-70.
Crooks V C, Lubben J, Petitti D B, Little D, Chiu V. Social network, cognitive function, and dementia incidence among elderly women. Am J Public Health. 2008;98(7):1221-7.
ธวัชชัย พันธุ์เดช. ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมทางสังคมและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารการวิจัยสุขภาพชุมชน. 2560;35(2):75-85.
ธีระเดช มหิทธิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างโรคประจำตัวและความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2560;5(2):89-95.
สุชาดา วงษ์มาลา. ความเสี่ยงของการสูญเสียการมองเห็นและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุไทย. วารสารวิจัยสาธารณสุข. 2561;10(2):87-94.
Baker M L, Wang J J, Rogers S, Mitchell P. Early age-related macular degeneration, cognitive function, and dementia: the Blue Mountains Eye Study. J Am Geriatr Soc. 2016; 64(8):1716-23.
พรชัย ธงทอง. ความเสี่ยงของการสูญเสียการได้ยินและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุไทย. วารสารการแพทย์ไทย. 2563;15(2):87-92.
Lin F R, Metter E J, O’Brien R J, Resnick S M, Zonderman A B, Ferrucci L. Hearing loss and incident dementia. Arch Neurol. 2011;68(2):214-20.
Fratiglioni L, Paillard-Borg S, Winblad B. An active and socially integrated lifestyle in late life might protect against dementia. Lancet Neurol. 2004;3(6):343-3.
Cohen D, Cohen R, Cole S. Schizophrenia, neurodegeneration, and cognitive decline: An analysis of long-term outcomes. Journal of Psychiatric Research. 2000;34(5):423-32.
Jeste D V, Depp C A, Vahia I V. Successful cognitive aging: Individual differences and predictors of cognitive decline in older adults with psychiatric disorders. American Journal of Geriatric Psychiatry. 2011;19(9):791-800.
กุลธิดา จินดามณี. ความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่มีอาการทางจิต. วารสารการแพทย์พื้นฐานและการประยุกต์. 2561;15(1):115-23.
วรรณภา สุทธิประภา. ความสัมพันธ์ระหว่างอาการทางจิตและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ. วารสารสุขภาพจิตและสังคมสงเคราะห์. 2560;6(3):101-08.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง