การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น, การเรียนรู้, องค์กรปกครองท้องถิ่นบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการกองทุนและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างผู้รับผิดชอบงานและผู้บริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในเขตจังหวัดพิจิตร การวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้รับผิดชอบงาน จำนวน 202 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ คือ กลุ่มผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยรวบรวมข้อมูลทั่วไป ความรู้ ทัศนคติ การดำเนินงาน และแบบสัมภาษณ์ถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในเขตจังหวัดพิจิตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติ Chi-square และ Binary logistic regression ข้อมูลเชิงคุณภาพสรุปเนื้อหาข้อมูลเชิงคุณภาพด้วย Content Analysis
ผลการวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานตามกรอบการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ขององค์กรปกครองท้องถิ่น คือ หน่วยงาน (AOR=2.32, p < .05) ผู้ที่ไม่ใช้คู่มือการดำเนินงาน (AOR=2.57, p< .05) ผู้ที่ไม่ใช้ไลน์กลุ่ม (AOR=2.22, p< .05) ความรู้ (AOR=6.65, p< .001) การออกแบบกิจกรรมของรูแบบการพัฒนาการดำเนินกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นพบว่าเนื้อหาที่เป็นส่วนขาด (Gap) ส่วนมากจะเป็นในส่วนรายละเอียดของความรู้ความเข้าใจ ดังนั้นการกำหนดกิจกรรมในการเรียนรู้จึงต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active learning และการพัฒนาทักษะ (Skill) และจัดระดับความสำคัญ (Priority setting) ของการเรียนรู้ตามเนื้อหาที่เฉพาะ (Specific content) หรือเนื้อหาพื้นฐานทั่วไป (Generic content) และทักษะเฉพาะ (Specific skill) หรือทักษะการปฏิบัติพื้นฐานทั่วไป (Generic skill) เพื่อเป็นการกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ นำมากำหนดความเข้มข้นของกิจกรรม ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำ (Remembering) อธิบาย (Understanding) และสามารถวิเคราะห์ได้ (Analyzing) รวมถึงนำไปประยุกต์ใช้ได้ (Applying) ผู้รับผิดชอบงานจะเกิดเจตคติ (Affective Domain) ที่ดี รวมถึงเกิดทักษะ (Psychomotor Domain) ที่ดี ซึ่งจะทำให้ผลการดำเนินงานตามกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นดำเนินงานได้อย่างครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย และบรรลุตามเกณฑ์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สรุปและข้อเสนอแนะ : หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active learning ให้กับผู้รับผิดชอบงาน เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
References
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงจันทร์การพิมพ์; 2561.
บุษกร ศรีโพธิ์, อารี บุตรสอน. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการกองทุนของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ. ใน: สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม, บรรณาธิการ. ประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งที่ 17; 20-21 กรกฎาคม 2566; ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี; 2566. หน้า 12-24.
บุญศุภภะ ตัณฑัยย์, พิศมัย จารุจิตติพันธ์. ศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 2560;12(1):81-9.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร. การประเมินการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในปีงบประมาณ 2564 - ปีงบประมาณ2566. เอกสารอัดสำเนา; 2566.
เบญจพร สุทธาวาสน์. แนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2559.
จุฑามาส ใจพรหม. ปัจจัยที่มีผลต่อผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสหเวชศาสตร์. 2565;7(2):27-43.
ประนอม จิตต์ทนงศักดิ์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับ ท้องถิ่น จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต. 2564;1(3):13-23.
วันชัย มีชาติ. พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
ศุภณัฐ แช่มศรีรัตน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการบริหารจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 2563;12(1):13-39.
ทรงวิทย์ ศรีคำ. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2564;8(4):23-34.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-10-23 (2)
- 2024-10-23 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง