การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการก่อความรุนแรงในชุมชนอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติการพยาบาล, ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล
รูปแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยประยุกต์ใช้แนวคิดของ Kemmis and Mctaggart
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) พยาบาลผู้รับผิดชอบงานในโรงพยาบาลเกษตรวิสัย จำนวน 4 คน 2) พยาบาลผู้รับผิดชอบงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 16 คน และ 3) ผู้ป่วยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในช่วงเดือนมกราคม 2566 ถึงเดือนเมษายน 2566 จำนวน 273 ราย เครื่องมือประกอบด้วยแนวคำถามการสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม และคู่มือแนวปฏิบัติการพยาบาล มีดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ได้เท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย : พบว่า ยังไม่มีแนวปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นแนวทางของอำเภอเกษตรวิสัย แนวปฏิบัติการพยาบาลที่ร่วมพัฒนา ประกอบด้วยการพยาบาลแบ่งตามระดับความรุนแรงของพฤติกรรมก้าวร้าว โดยพยาบาลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเริ่มดูแลในกลุ่มผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ระดับ 2 และพยาบาลในโรงพยาบาลเกษตรวิสัย ดูแลในกลุ่มผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ระดับ 3 แนวปฏิบัติการพยาบาลประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินสภาพปัญหาโดยใช้แบบประเมิน 10 ด้าน 2) การวินิจฉัยปัญหาจากแบบประเมิน 10 ด้าน 3) การวางแผนการดูแลโดยใช้ Care Plan ตามปัญหา10 ด้าน 4)การปฏิบัติการพยาบาลโดยการเยี่ยมบ้าน 4 ครั้ง ทุก 1 เดือน 5) การประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาล และ 6) การวางแผนดูแลต่อเนื่อง ผลลัพธ์หลังการดำเนินการ พบว่า ผู้ป่วยมารักษาในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยในลดลงจากร้อยละ 7.3 เหลือเป็นร้อยละ 2.6 และการประเมินคุณภาพการนำไปใช้ของแนวปฏิบัติการพยาบาล โดยพยาบาล 20 คน พบว่า ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ ร้อยละ 100
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวช และยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชนที่มีคุณภาพและมาตรฐาน และลดการมารักษาในโรงพยาบาล ควรมีการทำการวิจัยเชิงทดลองต่อเพื่อให้สามารถแสดงถึงประสิทธิผลได้อย่างชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งควรมีการติดตามระยะเวลานานขึ้นมาก
References
กรมสุขภาพจิต. ระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2565.
World Health Organization. The Global burden of disease of Mental disorders 2020. Global Health Estimates; 2020.
ปริวัตร ไชยน้อย. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ที่เป็นโรคจิตเภทที่กลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2560.
พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, ณรงค์ชัย วงค์วาร, อัญชุลี เนื่องอุตม์. แนวทางการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตแบบไร้รอยต่อและบูรราการในพื้นที่. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2563.
พิกุล เจริญสกุลทรัพย์, กชพงศ์ สารการ, ธีราภา ธานี. การพัฒนารูปแบบการจัดการพฤติกรรม ก้าวร้าวของผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนโดยใช้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. วารสารการพยาบาล จิตเวชและสุขภาพจิต. 2565;26(2):30-40.
อัครเดช กลิ่นพิบูลย์, นาฏลดา นำภา, ธีราภา ธานี, สุภาพร จันทร์สาม. การพัฒนารูปแบบการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงในผู้ป่วยจิตเวชสำหรับบุคลากรการพยาบาลโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2561;26(3):207-19.
Kemppainen J H. Psychiatric Nursing and Medication Adherence. J of Psychosocial Nursing. 2003;41(2):39-49.
รัชนีกร อุปเสน. ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความเหนื่อยหน่ายของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก. 2560;8(พิเศษ):308-14.
กรมสุขภาพจิต. คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชนสำหรับบุคลากรของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2565.
ศรินรัตน์ จันทพิมพ, ขนิษฐา นันทบุตร. การดูแลผู้ป่วยจิตเภทโดยชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560;36(2):68-76.
บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์. สถานการณ์ของผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง.การประชุมพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตแบบไร้รอยต่อและบูรณาการในพื้นที่. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2563.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเกษตรวิสัยจังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด; 2565.
Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria : Deakin University; 1988.
สุกัญญา ละอองศรี, บัววรุณ ศรีชัยกลุ, นภดล พิมพ์จันทร์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนตำบลไผ่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา. 2560;23(2):15-26.
วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารราชภัฏร์ธานี. 2558;2(1):28-49.
นุษณี เอี่ยมสะอาด, ปพิชญา ทวีเศษ, พรเลิศ ชุ่มชัย. ผลการจัดการรายกรณีต่อความสามารถโดยรวมของผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงก่อความรุนแรง. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2563;14(1):10-22.
รัศมี ชุดพิมาย. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565;16(3):851-67.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง