การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วมของ ทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ปิยนุช อนุแก่นทราย โรงพยาบาลธวัชบุรี
  • พรธิดา แสนสวนจิตร โรงพยาบาลธวัชบุรี
  • สุพัตรา พรมวงค์ โรงพยาบาลธวัชบุรี

คำสำคัญ:

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาและประเมินผลลัพธ์รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Mutual collaborative action research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : การวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1) ศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในอำเภอธวัชบุรี ระยะที่ 2) การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย และระยะที่ 3) การประเมินผลลัพธ์ของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ระยะเวลาการดำเนินวิจัยเดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนตุลาคม 2566 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย (1) ผู้ใช้บริการ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในระยะที่ศึกษาสถานการณ์ จำนวน 30 คน และระยะการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย จำนวน 30 คน และประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในชุมชน จำนวน 100 คน (2) บุคลากรผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลธวัชบุรีและเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอธวัชบุรี จำนวน 30 คน และ (3) ผู้รับผิดชอบหลักในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 10 คน ผู้ร่วมวิจัยเป็นบุคลากรทีมสหวิชาชีพผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลธวัชบุรีและเครือข่ายบริการ จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Chi square test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)

ผลการวิจัย : (1) สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในอำเภอธวัชบุรีมีปัญหาในประเด็นเรื่องการเข้าถึงบริการการรักษาที่ล่าช้าและการสื่อสารของทีมสหสาขาวิชาชีพ เนื่องจากผู้ป่วยขาดความรู้และขาดความตระหนัก โดยการรักษาที่มีประสิทธิภาพจะต้องอาศัยความรวดเร็วในเข้าถึงเพื่อให้มีการประเมินตั้งแต่การวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) อย่างรวดเร็ว ความรวดเร็วในการให้การรักษาและการให้การพยาบาลจึงจะส่งผลต่อการรักษาที่ดีและลดภาวะแทรกซ้อน ลดอัตราการเสียชีวิต (2) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ดที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1) การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) ในประชากรกลุ่มเสี่ยงเพื่อการเข้าถึงบริการที่รวดเร็ว องค์ประกอบที่ 2) กลไกการเฝ้าระวังและค้นพบผู้ป่วยตั้งแต่ระยะเริ่มต้นในชุมชนอย่างรวดเร็วโดยภาคีเครือข่ายในชุมชน องค์ประกอบที่ 3) ระบบการเข้าถึงบริการการรักษาการติดเชื้อในกระแสเลือดและการฟื้นฟูระบบไหลเวียนอย่างรวดเร็ว (Fast Track) และองค์ประกอบที่ 4) นโยบายชัดเจนและมีการทำงานเป็นทีมสอดประสานแบบไร้รอยต่อ ส่วนผลลัพธ์ พบว่าประชาชนมีความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติที่ดีต่อการจัดการโรคติดเชื้อในกระแสเลือดในครัวเรือนของตนเองและชุมชน พยาบาลปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ Sepsis Protocol โดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=4.12, SD.=0.34) การดูแลผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อและเข้าสู่กระบวนการรักษาก่อนเกิดภาวะช็อกเพิ่มขึ้นจาก 51% เป็น 86% จำนวนผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดลดลงจาก34% เป็น 12% จำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ลดลงจาก 26.6% เป็น 11.8%

สรุปและข้อเสนอแนะ : รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายอำเภอธวัชบุรี ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้เป็นรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ อันจะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ถูกต้อง รวดเร็ว เป็นไปตามมาตรฐานเกิดผลลัพธ์ที่ดีทั้งในด้านการพยาบาลและผลลัพธ์ทางคลินิกที่สำคัญ

References

World Health Organization. Global report on the epidemiology and burden of sepsis: current evidence, identifying gaps and future directions. 2020 [Internet]. [cited 2023 Jan 30]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789240010789

Global Sepsis Alliance. Sepsis. 2022 [Internet]. [cited 2023 Jan 30]. Available from: https://www.global-sepsis-alliance.org/sepsis

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานทางสถิติอัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2566] เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/

กองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. 2562 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://data.ptho.moph.go.th/inspec/2562/inspec62_1/9(14.11.61%20edited).pdf

สมพร รอดจินดา. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลน่าน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2563;31(1),212-31.

คนึงนิจ ศรีษะโคตร, วไลพร ปักเคระกา, จุลินทร ศรีโพนทัน, นิสากร วิบูลชัย, สุคนธ์ทิพย์ ปัตติทานัง, รุ่งนภา ธนูชาญ, และคนอื่นๆ. การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลเพื่อปองกันอาการทรุดลงทางคลินิกในผู้ปวยที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2564;27(2):151-64.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ret.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php

พรนภา วงศ์ธรรมดี. คุณภาพการจัดการดูแลผู้ที่มีภาวะตดเชื้อในกระแสเลือดที่หน่วยงานอายุรกรรม [วิทยานิพนธ์]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2562.

Kemmis, Mc Taggart R. The Action research planner, 3 rd ed. Geelong: Deakin University, Australia; 1988.

พรรณี ชูศรี, อิสราภรณ์ ปัญญา, ปิยะเนตร ปานเกิด, การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 1 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. วารสารการพยาบาลสุขภาพ และสาธารณสุข. 2565;1(2):12-27.

นันทรัตน์ โกษาแสง. พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตและบันทึกด้วยโปรแกรม IPD Paperless หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ. 2566 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://bkpho.moph.go.th/ssjweb/bkresearch/require/files/postdoc/index.php?fn=detail&sid=284

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-22 — Updated on 2024-10-22

Versions