การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ผู้ป่วยนอกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • โชติมณี เรืองกลิ่น โรงพยาบาลเชียงยืน
  • อารยา ฉัตรธนะพานิช โรงพยาบาลเชียงยืน
  • นฤมล จำปาบุญ โรงพยาบาลเชียงยืน

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2, ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง, การเสริมสร้างแรงจูงใจ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ในเขตตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง คือผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับHbA1c 7-9 % ในเขตตำบลเชียงยืนที่รักษาที่คลินิกโรคเรื้อรัง ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 - เดือนกรกฎาคม 2566 จำนวน 261 ราย การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เขตตำบลเชียงยืน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ระยะที่ 2 วางแผนกิจกรรมแก้ไขปัญหาโดยมีการประชุมระดมความคิด และประชุมเชิงปฏิบัติเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา ระยะที่ 3 ดำเนินการโดยกระบวนการสร้าง Health literacy ระดับบุคคลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ระยะที่ 4 สรุปประเมินผลการดำเนินการ

ผลการวิจัย : พบว่า จากการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจ และการสัมภาษณ์ โดยใช้กระบวนการสนทนาแบบเสริมสร้างแรงจูงใจ (Motivational Interviewing) ผลการวิเคราะห์ตนเองและการวิเคราะห์กลุ่ม ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดความตระหนักที่จะมีพฤติกรรมดูแลสุขภาพ ตนเอง มีเป้าหมายและกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน มีความเป็นไปได้ ผลจากการใช้ My I – SMART Record พบว่าผู้ป่วยมีความเข้าใจในตนเอง มีแรงบันดาลใจในการที่จะดูแลตนเอง มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกันกับทีมผู้ดูแลในการดูแลตนเองของผู้ป่วยแต่ละราย มีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนในการที่จะปฏิบัติการดูแลตนเองสู่เป้าหมายตามความต้องการ นอกจากนี้ยังพบว่าผลการประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานก่อน หลังของผู้ป่วยเบาหวานมีความแตกต่างกันที่ระดับน้อยกว่า .05 รวมถึง ระดับของ HbA1c หลังการเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับน้อยกว่า .05 และระดับการจัดการตนเองหลังการเข้าโปรมแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญระดับ .05

สรุปและข้อเสนอแนะ : การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ เป็นการพัฒนาการจัดการตนเองให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี เข้าใจสาเหตุจนกระทั่งวิธีการแก้ไข ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

World Health Organization (WHO). International Diabetes Federation [Internet]. Facts & figures; 2023 [cited 2023 Oct 10]. Available from: https://idf.org/about-diabetes/diabetes-facts-figures/

World Health Organization (WHO). Diabetes [Internet]. 2023 [cited 2023 Oct 10]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/diabetes

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานอัตราการป่วยตายด้วยโรคเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.Php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=589248f2516fbb85d4a4a5605c3ca1c4

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติ สำหรับโรคเบาหวาน 2560. ปทุมธานี: ร่มเย็นมีเดีย; 2560.

Health Data Center (HDC) จังหวัดมหาสารคาม. ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://mkm.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

เจษฎา จงไพบูลย์พัฒนะ. การประเมินประสิทธิผลของการใช้กระบวนการกลุ่ม ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลสตูล. วารสารวิชาการเขต 12. 2546;14(3):45-60.

ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล. ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้สุขศึกษาแบบกระบวนการกลุ่ม ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบ่อพลอย อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารแพทย์เขต 6-7. 2547;23(1):77-89.

Miller W R, Rollnick S. What makes it Motivational Interviewing?. Presentationat the International Conference on Motivational Interviewing (ICMI). Stockholm; 2010.

บุญจันทร์ วงศ์สุนพรัตน์, ฉัตรประอร งามอุโฆษ, น้ำเพชร สายบัวทอง. ผลของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนากิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน: กรณีศึกษาตำบลตลาดขวัญ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ. 2564;27(1):64-75.

Steffen P L S, Mendonça C S, Meyer E, Faustino-Silva D D. Motivational interviewing in the Management of Type 2 diabetes mellitus and arterial hypertension in primary health care: an RCT. Am J Prev Med. 2021;60(5):e203-e212.

เสกสรรค์ จวงจันทร์, พนิดา สารกอง, สายชล นิลเนตร. การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสนทนาสร้างแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนการควบคุมระดับน้ำตาลในพลาสมาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. ศรีสะเกษ: โรงพยาบาลนาคูณ.วารสารสำ นักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. 2562;17(2):37-47.

เทอดศักดิ์ เดชคง. ผลของโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสถาบันบำราศนราดูร. 2563;14(3);134-45.

ละอองกลิ่น กนกแสง. ผลการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดสะสม ของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2564;5(10):161-70.

Prochaska J O, DiClemente C C. The transtheoretical approach: Crossing traditional boundaries of therapy. Dow Joneslrwin; 1984.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-21 — Updated on 2024-11-20

Versions