ประสิทธิผลของน้ำมันกัญชา (หมอเดชา) ต่อผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่มารับบริการ ในโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน

ผู้แต่ง

  • รังสิยา นันทะแสน โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน
  • ยุพารัตน์ บำเพ็ญรัตน์ โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน

คำสำคัญ:

น้ำมันกัญชา (หมอเดชา), โรคสะเก็ดเงิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลและศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินก่อนและหลังได้รับการรักษาด้วยน้ำมันกัญชา (หมอเดชา)

รูปแบบการวิจัย : Quasi experimental study (One Group Pretest Posttest Design)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 11 คน ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม 2566 ระยะเวลา 5 เดือน โดยให้ผู้ป่วยใช้น้ำมันกัญชาทาลงบนผิวหนังบริเวณที่เป็นสะเก็ดเงินเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis Area and Severity Index : PASI) และแบบสอบถามวัดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคผิวหนัง (Dermatology Life Quality Index : DLQI) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired Sample t-test

ผลการวิจัย : หลังการทดลอง พบว่า ผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ยความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงินน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.002) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความรุนแรงน้อยกว่า 0.91 คะแนน (95%CI: 0.44, 1.38) ส่วนคุณภาพชีวิตพบว่า ผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต (DLQI) มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต (DLQI) มากกว่า 7.27 คะแนน (95%CI: 5.68, 8.69)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นและความรุนแรงของโรคลดลง ดังนั้นหน่วยที่เกี่ยวข้องควรนำไปปรับใช้เป็นแนวทางการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไป

References

กองควบคุมวัตถุเสพติด. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่7) พ.ศ.2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://narcotic.fda.moph.go.th/law-type/na-7-2562

โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน. ระบบ HOSxP. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน; 2566.

ลีนา จุฬาโรจน์มนตรี, ป่วน สุทธิพินิจธรรม, กนกวลัย กุลทนันทน์. การทดสอบความเที่ยงและความตรงของแบบสอบถาม psoriasis dermatology index(PDI) ฉบับภาษาไทย. วารสารโรคผิวหนัง 2552;25:141-52.

ชัชวาล วชิระเมธารัชต์, พิทยาภรณ์ ซิมเมอร์มันน์, สิริกุล จุลวรรณา, และคณะ. การศึกษาประสิทธิผลการรักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินด้วยสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. Service plan sharing best practice 2020 สาขาการใช้กัญชาทางการแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://phdbservice.moph.go.th/APP/SERVICEPLAN/uploads/event2022/service19/index.html#p=6

กรรณิการ์ เซียวทวีสิน. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน และการมีส่วนร่วมในการดูแลของครอบครัวโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2561;2(3):1069-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-21