ผลของการดูแลแบบการจัดการรายกรณีในชุมชนที่มีต่ออาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภทซับซ้อน อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การจัดการรายกรณี, อาการทางจิต, ความสามารถโดยรวมของผู้ป่วยจิตเภทบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบอาการทางจิตและความสามารถโดยรวมของผู้ป่วยจิตเภทที่ซับซ้อนได้รับการดูแลแบบการจัดการรายกรณีในชุมชน
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดกลุ่มเดียววัดผลก่อนหลัง
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลหัวช้างในระหว่างเดือนกันยายน 2562 ถึง ตุลาคม 2562 จำนวน 10 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับการดูแลแบบการจัดการรายกรณีในชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) การจัดการรายกรณีในชุมชน 2) แบบประเมินอาการทางจิต 3) แบบประเมินความสามารถโดยรวมวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและ สถิติอนุมานได้แก่ Paired t – test
ผลการวิจัย : 1) ค่าเฉลี่ยของอาการทางจิตหลังได้รับการจัดการรายกรณี (37.2±3.67) ลดลงกว่าก่อนได้รับการจัดการรายกรณี 57.2(±7.56) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และ 2) ค่าเฉลี่ยของความสามารถโดยรวมหลังได้รับการจัดการรายกรณี 64.5(±9.82) สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการรายกรณี49.2(±7.03) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการจัดการรายกรณีในชุมชนส่งผลให้ผู้ป่วยจิตเภทซับซ้อนมีอาการทางจิตและความสามารถโดยรวมดีขึ้น ดังนั้นควรนำการจัดการรายกรณีมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทซับซ้อนในชุมชน
References
เสาวลักษณ์ สุวรรณไมตรี, อนงค์นุช ศาโศรก, ธนเนตร ฉันทลักษณ์วงศ์, ชุรีภรณ์ เสียงล้ำ, วีร์ เมฆวิลัย. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท สำหรับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ (ฉบับพยาบาล/นักวิชาการสาธารณสุข). พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: พิมพ์ที่บริษัท วิคทอเรียอิมเมจ จำกัด; 2560.
มันฑนา กิตติพีรชล, ปัทมา ศิริเวช, บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์, วีร์ เมฆวิลัย. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทสำหรับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ (ฉบับแพทย์). พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: พิมพ์ที่บริษัทวิคทอเรียอิมเมจ จำกัด; 2560.
เสาวลักษณ์ สุวรรณไมตรี, ชิดชนก โอภาสวัฒนา, ชลลดา จารุศิริชัยกุล. คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน โรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต. นนทบุรี: บริษัทพรอสเพอรัสพลัส จำกัด; 2561.
โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน. รายงานผลการดำเนินงานสุขภาพจิต. ประจำปี 2560-2562.
วัฒนาภรณ์ พิบูลอาลักษณ์, จินตนา ยูนิพันธุ์, วิภาวี เผ่ากันทรากร, วีรพล อุณหรัศมี. ผลของการจัดการรายกรณีโดยผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงต่อการป่วยซ้ำในผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย. 2561;5(2):5-18.
จลี เจริญสรรพ์, นพรัตน์ ไชยชำนิ. การพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคมด้วยการจัดการรายกรณีสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเภทซับซ้อน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2560;31(2):64-77.
กิตติศักดิ์ สุรพงษ์พิวัฒนะ. ผลการจัดการรายกรณี : แบบโรงพยาบาลและชุมชนเป็นฐานในผู้ป่วยโรคจิตเภท. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษสุรินทร์บุรีรัมย์. 2559;31(2):111–9.
นุษณี เอี่ยมสอาด, ปพิชญา ทวีเศษ, พรเลิศ ชุ่มชัย. ผลการจัดการรายกรณีต่อความสามารถโดยรวมของผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงก่อความรุนแรง. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2563;14(1):10-22.
วันเพ็ญ ทัดศรี. การใช้การจัดการดูแลผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยจิตเภทซับซ้อนหอผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2553;25(2):173-84.
กาญจนา เหมะรัต, เพลิน เสี่ยงโชคอยู่, อุ่นจิตร์ คุณารักษ์, นิรมล ปะนะสุนา. ผลของการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยจิตเภทต่อความร่วมมือในการรับประทานยาและการป่วยซ้ำ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2555;26(2):63-73.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-10-28 (3)
- 2024-10-28 (2)
- 2024-10-06 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง