ประสิทธิภาพของการฝึกหายใจด้วยอุปกรณ์กระตุ้นความพยายามในการหายใจเข้าลึก ในผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัดหัวใจ: อาการทางคลินิก สมรรถภาพปอด และการวิเคราะห์ภาพ ถ่ายรังสีทรวงอกด้วยคอมพิวเตอร์
คำสำคัญ:
การฝึกหายใจ, อุปกรณ์ฝึกหายใจ, ปริมาตรปอดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการฝึกหายใจด้วยอุปกรณ์กระตุ้นความพยายามในการหายใจเข้าลึก (BreatheMAX®) ต่อการพื้นที่ปริมาตรปอดในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ และหาความสัมพันธ์ของปริมาตรปอดกับค่าสมรรถภาพปอดจากสไปโรมิเตอร์หลังผ่าตัด
รูปแบบการวิจัย : เป็นการศึกษาย้อนหลัง (Retrospective research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : ศึกษาข้อมูลเวชระเบียนและฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่โรงพยาบาลขอนแก่น ตั่งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2560 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง (ใช้ BreatheMax®) และกลุ่มควบคุม (ฝึกหายใจลึก) รวบรวมข้อมูลและวัดปริมาตรปอดจากภาพถ่ายรังสีทรวงอกโดยนักกายภาพบำบัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบก่อนและหลังการฝึกภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม
ผลการวิจัย : พื้นที่ปอดจากภาพถ่ายรังสีทรวงอก ก่อนผ่าตัดไม่มีความแตกต่างระหว่างสองกลุ่ม แต่หลังผ่าตัดทันที (Post-op day 0) พื้นที่ปอดลดลงชัดเจนในทั้งสองกลุ่มโดยไม่มีความแตกต่างที่นัยสำคัญทางสถิติ แต่ในวันที่ 1 และ 2 หลังผ่าตัด กลุ่มทดลองมีการฟื้นฟูพื้นที่ปอดได้ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และพื้นที่ปอดที่วัดในวันที่ 1 หลังผ่าตัดมีความสัมพันธ์สูงกับค่าจริงในวันที่ 5 สำหรับตัวชี้วัด SVC, PEFR และ VT ซึ่งใช้ในการคาดการณ์การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดได้
สรุปและข้อเสนอแนะ : การฝึกหายใจด้วยอุปกรณ์ มีศักยภาพในการช่วยฟื้นฟูการขยายตัวของปอดในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดหัวใจ โดยเฉพาะในช่วงหลังผ่าตัดระยะเริ่มต้น และค่าพื้นที่ปอดมีความสัมพันธ์สูงกับตัวชี้วัดของสไปโรมิเตอร์ แต่ยังจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ และประเมินสมรรถภาพปอดหลายแง่มุมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนยิ่งขึ้น และควรมีการศึกษาผลลัพธ์ในระยะยาว
References
Hulzebos H J, Van Meeteren N L U, Van den Buijs BJWM, A de Bie R, Brutel de la Rivière A, Helders P J M. Feasibility of preoperative inspiratory muscle training in patients undergoing CABG surgery with a high risk of postoperative pulmonary complications: A randomized controlled pilot study. Clinical Rehabilitation. 2006;20(11):949–59.
Rajendran A J, Pandurangi U M, Murali R, Gomathi S, Vijayan V K, Cherian K M. Pre-operative short-term pulmonary rehabilitation for patients of chronic obstructive pulmonary disease undergoing coronary artery bypass graft surgery. Indian Heart J. 1998;50(5):531-4.
Yotwong A, Sawasdipanit R, Jones C. Effectiveness of new chest physical therapy techniques in post open heart surgery in ICU. Proceedings of the 8th PTAT Conference; 2016 Jun 20-23; Bangkok; Thailand; p 45-51.
Westerdahl E, Lindmark B, Eriksson T, Friberg O, Hedenstierna G, Tenling A. Deep-breathing exercises reduce atelectasis and improve pulmonary function after coronary artery bypass surgery. Chest. 2005;128(5):3482-8.
คณะกรรมการชมรมฟื้นฟูหัวใจ. สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย. แนวทางการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหัวใจ [อินเตอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม 2559];1:1-32. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaiheart.org/images/column_1291454908/RehabGuideline.pdf
Jones C U, Kluayhomthong S, Chaisuksant S, Khrisanapant W. Breathing exercise using a new breathing device increases airway secretion clearance in mechanically ventilated patients. Heart Lung. 2013;42(3):177-82.
Yoshida A, Kai C, Futamura H, Oochi K, Kondo S, Sato I, et al. Spirometry test values can be estimated from a single chest radiograph [Internet]. 2553 [cited 2024 Mar 6]:1-11. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC10953498/pdf/fmed-11-1335958.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-09-29 (2)
- 2024-09-29 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง