การพัฒนาระบบการใช้นามบัตร QR Code เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงยาต้านไวรัส ของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลปทุมรัตต์

ผู้แต่ง

  • จิราพร พรหมโคตร โรงพยาบาลปทุมรัตต์

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ระบบ, ยาต้านไวรัส, เอชไอวี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาระบบการใช้นามบัตร QR Code ในการส่งเสริมการเข้าถึงยาต้านไวรัสของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและเพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้นามบัตร QR Code ของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ตัวอย่างเป็นกลุ่มติดเชื้อเอชไอวีที่อยู่ในเขตโรงพยาบาลปทุมรัตต์ จำนวน 50 คน ระยะเวลาดำเนินการ 24 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบและแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และเปรียบเทียบผลต่างคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรผลลัพธ์ด้านความรู้ด้านยาต้านไวรัสโดยใช้สถิติ Paired Samples t-test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% Confidence interval

ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างจํานวน 50 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 31 คน (62.00%) ช่วงอายุ 50-59 ปี 22 คน (44.00%) สถานภาพโสด 22 คน (44.00%) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา 26 คน (52.00%) คนได้ต่อเดือนไม่มีคนได้ 22 คน (44.00%) สิทธิในการรักษาพยาบาลเป็นสิทธิ์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 42 คน (84.00%) โทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอย์ 43 คน (86.00%) และมีระยะเวลากินยาต้านไวรัสมากกว่า 10 ปี 20 คน (40.00%) ผลการวิจัยพบว่าคะแนนรวมเฉลี่ยหลังการทดลอง 12.59±1.55 คะแนน มากกว่าคะแนนรวมเฉลี่ยก่อนการทดลอง 10.18±2.63 คะแนน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ส่วนแบบประเมินความพึงพอใจหลังใช้นามบัตร QR Code พบว่ามีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือด้านลักษณะของนามบัตร QR Code มีคะแนนรวมเฉลี่ย 4.20±0.84 คะแนน ด้านความสะดวกในการใช้นามบัตร QR Code มีคะแนนรวมเฉลี่ย 4.35±0.70 คะแนน และด้านประโยชน์ที่ได้รับหลังใช้นามบัตร QR Code มีคะแนนรวมเฉลี่ย 4.39±0.73 คะแนน

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าคะแนนรวมเฉลี่ยหลังการทดลองมากกว่าก่อนทดลองอยู่ที่ 2.41 คะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การวิจัยครั้งนี้ได้ประเมินความพึงพอใจหลังใช้นามบัตร QR Code พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน โดยคะแนนรวมทั้งหมดเท่ากับ 4.31±0.76 คะแนน จัดอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

References

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. ศูนย์รวมข้อมูลสารสนเทศด้านเอชไอวีของประเทศไทย (HIV info hub) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 26 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http:// https://hivhub.ddc.moph.go.th/epidemic.php

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์. แผนปฏิบัติการยุติปัญหาเอดส์ประเทศไทย พ.ศ. 2566-2569. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็นซี คอนเซ็ปต์ จำกัด; 2566.

สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ระบบบริการข้อมูลสารสนเทศการให้บริการผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีผู้ป่วยเอดส์ (NAP WEB REPORT) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: 2566 [เข้าถึงเมื่อ 13 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://napdl.nhso.go.th/NAPWebReport/home.jsp

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. ศูนย์รวมข้อมูลสารสนเทศด้านเอชไอวีของประเทศไทย (HIV info hub). [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 28 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://hivhub.ddc.moph.go.th/dashboard/zone.php

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. ศูนย์รวมข้อมูลสารสนเทศด้านเอชไอวีของประเทศไทย (HIV info hub) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 28 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://hivhub.ddc.moph.go.th/dashboard/province.php

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. ศูนย์รวมข้อมูลสารสนเทศด้านเอชไอวีของประเทศไทย (HIV info hub). [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 28 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://hivhub.ddc.moph.go.th/dashboard/service_area.php

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจวินิจฉัยรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2564/2565. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.

เบญจพร วีระพล, สุทธิดา ลิ่มกองลาภ. ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรม QR Code เพื่อช่วยเพิ่มความรู้ในการใช้ยากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีฉลากยาเสริมของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

กุลธิดา ขันทอง. การใช้ QR Code จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E เรื่องรู้เท่าทันสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. คุรุสภาวิทยาจารย์ Journal of teacher professional development. 2563;1(3):44-53.

กัตตกมล พิศแลงาม. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ โค้ดสําหรับการจัดการเรียนการสอนในคนวิชาภาษาสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และสิ่งประดิษฐ์ ครั้งที่ 2 ประจําปี 2561; วันที่ 18 กรกฎาคม 2561; ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี; 2561. หน้า 262-72.

ปภาดา งามกิจปราโมทย์, ชญาดา กาญจนนันทวงศ์, วุฒิพงษ์ ทาเปี้ย, ตรีนุช เปี่ยมปรีชา, สุชาติ เปี่ยมปรีชา. การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลยาฉีดที่มีความเสี่ยงสูงของพยาบาลวิชาชีพด้วยคิวอาร์โค้ด. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2562;12(3):633-41.

ชมรมพร ศรีนวล, ทิพวรรณ เทียมแสน, กนกพร นามปรีดา, เสาวลักษณ์ วิลัย. กล่องยาฉุกเฉินพูดได้. Journal of the Phrae Hospital. 2563;28(1):176-88.

สุทธาทิพย์ ออประยูร, อัลจนา เฟื่องจันทร์. การพัฒนาฉลากยาสําหรับผู้พิการทางสายตา. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2560;9(1):236-50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-29